Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
Developing a System of Care for Patients with Sepsis

[เปิดดู 137 ครั้ง]

วิทยา บุตรสาระ ยุพนา ลิงลม และ สำเนียง คำมุข

  • บทคัดย่อ
  • การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) เป็นการ
    วิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบ้านแพง
    ในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 54 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์
    โดยการทบทวนเวชระเบียน ปี 2557 จำนวน 48 ราย ปี 2558 จำนวน 46 ราย สนทนากลุ่มทีมนำทางคลินิก 3 ครั้ง สังเกตการปฏิบัติ
    การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 6 ครั้ง สัมภาษณ์แพทย์ พยาบาล เวชกิจฉุกเฉิน ทบทวนแนวทางการดูแลผู้ป่วยตาม Sepsis Guideline
    และ SOS Score 2) พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย โดยการปรับ Sepsis Guideline และ SOS Score ทดลองใช้กับผู้ป่วย จำนวน 10 ราย
    นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สะท้อนกลับผู้เกี่ยวข้อง อบรมเชิงปฏิบัติการแก่แพทย์พยาบาลนำสู่การปฏิบัติ 3) ประเมินผลหลังการนำ Sepsis
    Guideline และ SOS Score ที่พัฒนาขึ้นไปใช้เปรียบเทียบผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดปี 2559 กับปี 2558
    เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกการสังเกตการดูแลผู้ป่วย สถิติที่ใช้
    ในวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ และ Chi-square
    ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทบทวนเวชระเบียนในปี 2557 จำนวน 48 ราย ปี 2558 จำนวน 46 ราย พบว่า ปี 2557-2558
    มีการวินิจฉัยแรกรับเป็นติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 29.17 และ 41.30 ของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดทั้งหมด มีการให้สารน้ำ􀂛ทดแทน
    อย่างเพียงพอ ร้อยละ 56.25 และ 78.57 มีการส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 58.33 และ 73.91 การได้รับยาปฏิชีวนะใน 1 ชั่วโมง
    หลังการวินิจฉัย ร้อยละ 45.83 และ 47.83 และมีอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 4.17 และ 8.70 2) นำข้อมูลที่ได้มากำหนดแนวทางการดูแล
    ผู้ป่วย Sepsis Guideline ในปี 2559 3) การเปรียบเทียบข้อมูลผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหลังใช้
    แนวทางที่พัฒนาขึ้นในปี 2559 กับข้อมูล ปี 2558 พบว่า ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย Sepsis (แรกรับ) การให้สารน้ำ􀂛ทดแทนอย่างเพียงพอ
    การส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ และการส่งต่อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการได้รับยาปฏิชีวนะใน 1 ชั่วโมง
    หลังการวินิจฉัย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และอัตราการเสียชีวิตจากภาวะ Sepsis ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
    ที่ระดับ .01

  • Abstract
  • Download Full Paper: