Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การประยุกต์นาฏกรรมวงดนตรีลูกทุ่งในสถานศึกษาเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Application of Dramatic Works in a Country Band at Educational Institutions for the Creative Economy

[เปิดดู 169 ครั้ง]

วราพร แก้วใส ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ และ อุรารมย์ จันทมาลา

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์นาฏกรรมวงดนตรีลูกทุ่งในสถานศึกษาเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกต และสัมภาษณ์ผู้รู้ ได้แก่ ผู้ออกแบบท่าเต้น 3 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 30 คน บุคคลทั่วไป จำนวน 30 คน แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
        ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์นาฏกรรมวงดนตรีลูกทุ่งในสถานศึกษาเป็นการประยุกต์ระหว่างความเป็นเอกลักษณ์ไทยกับความเป็นสากลให้ผสมผสานลงตัวกับความเป็นลูกทุ่งได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีหลักและวิธีการดังนี้ (1) การสร้างแนวคิด (2) การกำหนดรูปแบบ (3) การประดิษฐ์ท่าเต้น (4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย (5) การใช้พื้นที่การแสดง (6) อุปกรณ์การแสดง 2) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เกิดจากการประยุกต์นาฏกรรมวงดนตรีลูกทุ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่ออาชีพและบุคคลในชุมชน ได้แก่ การจ้างงานและการสร้างอาชีพ นักร้อง นักดนตรี นักแสดง และครูสอนเต้น จึงทำให้นาฏกรรมวงดนตรีลูกทุ่งในสถานศึกษา สามารถส่งเสริมงานนาฏกรรม และทำให้เกิดอาชีพในชุมชนและกลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อีกทางหนึ่ง   

  • Abstract
  •      The purpose of this study was to investigate the application of dramatic works in a country band at educational institutions for the creative economy through examining documents and collecting field data by observation and interview from knowledgeable persons, namely 3 choreographers, 30 dancers, and 30 general people and through presenting the study results by using descriptive analysis.
         Results of the study were as follows: 1) The application of dramatic works in a country band at educational institutions was a perfect combination of Thai identity, universality and country style by having the following principles and methods: (1) build concepts, (2) define styles, (3) create dance, (4) design costumes, (5) use show space, and (6) equip show equipment. 2) The creative economy resulting from the application of dramatic works in a country band had brought benefits into occupation and to the people in the community including employment and career building, singers, musicians, actors and dance teachers. The performance of a country band in the educational institutions can promote dramatic works and make a career in the community, since the country band participation is another way to make money in the creative economy.

     

    Download Full Paper: