Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานแอพพลิเคชัน รายวิชาการพัฒนาเว็บเพจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

[เปิดดู 181 ครั้ง]

ภัทรานี พลลา รัช อารีราษฎร์ และ สุขแสง คูกนก

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานแอพพลิเคชัน รายวิชาการพัฒนาเว็บเพจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป 2) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน แอพพลิเคชันในด้าน 2.1 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานแอพพลิเคชัน 2.2 ประสิทธิภาพของกิจกรรม  การจัดการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานแอพพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบรบือ จำนวน 41 คน ใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หมู่เรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ แบบประเมินการปฏิบัติงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent)        ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์ในงาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ นโยบายและหลักการที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดของหลักสูตร การจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์ชิ้นงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นคือ ทบทวนความรู้เดิม เพิ่มความรู้ใหม่ ปฏิบัติให้ชำนาญ ประเมินผลงาน และประยุกต์ใช้ความรู้ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน แอพพลิเคชันมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2.1 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานแอพพลิเคชัน  มีความเหมาะสมมากที่สุด 2.2 ประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 83.29/82.93 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานแอพพลิเคชันในระดับมากที่สุด 

  • Abstract
  •      The aims of this study were: 1) to develop a model for learning management by creating an application program in the course ‘Webpage Development with a Computer Program; 2) to evaluate the quality of learning management model through application creation in these aspects: 2.1 learning activities by application creation, 2.2 efficiency of learning management activities; 3) to compare learning achievement between before and after learning; and 4) to investigate students’ satisfaction with learning using the learning management model by application creation. A sample deriving from cluster random sampling through the use of learning groups as a unit of randomization was 41 ninth grade students at Borabue School. The tools used were a learning activity provision plan, a form for evaluating the desirable attributes, a performance evaluation form, a test of learning achievement, and a form for measuring satisfaction. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, and t-test for dependent samples.
         Results of the study were as follows. 1) The learning management model through application creation comprised 5 components: policies and related principles, details of the curriculum, learning management by creating an application, information technology and communication, and results of learning activity provision. The process of learning activity provision comprised 5 steps: review previous knowledge, add new knowledge, achieve expertise in practice, evaluate performance and apply knowledge. 2) The model for learning management by application creation was found appropriate at the highest level; 2.1 learning management activity through application creation was appropriate at the highest level; and 2.2 efficiency of learning management activity was 83.29/82.93 which was higher than the criterion set at 80/80. 3) Students’ learning achievement after learning was higher than that before learning at the .01 level of significance. And 4) students were satisfied with the model for learning management by application creation at the highest level.

     

    Download Full Paper: