Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและภาคประชาชนต่อต้านการทุจริตขององค์กรชุมชน :กรณีศึกษา ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกลางหมื่น อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
Strengthening the Community and Civil Society in the Fight Against Corruption in Community Organizations: A Case Study of Community in the Klang Muen Sub-district Municipality Area, Mueang Kalasin District, Kalasin Province

[เปิดดู 156 ครั้ง]

ชุมแพ แสนยะบุตร และ ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการและวิธีการในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ปัจจัยหลักของความสำเร็จที่เอื้อหรือก่อให้เกิดความเข้มแข็งในการต่อต้านการทุจริตของชุมชน และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและภาคประชาชนต่อต้านการทุจริตในองค์กรชุมชน ในเขตเทศบาลตำบลกลางหมื่น อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 6 คน และตัวแทนสมาชิกในชุมชนของแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 12 คน ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเขตเทศบาลตำบลกลางหมื่น เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยด้วยวิธีการหาค่าความเที่ยงตรง โดยการให้คณะผู้เชี่ยวชาญดูในภาพรวมด้านเนื้อหา ภาษาและความครอบคลุม และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของการวิจัย แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเขียนบรรยายผลและข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย
         ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการและวิธีการในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เกิดจากการประกาศเจตนารมณ์ของสมาชิกชุมชนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตในพื้นที่ของตน ซึ่งมีการเข้าร่วมในรูปแบบจิตอาสา จนเกิดเป็นองค์กรชุมชนเพื่อต่อต้านการทุจริต ทั้งนี้ ปัจจัยหลักของความสำเร็จ ที่ทำให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อต่อต้านการทุจริต   ในเขตเทศบาลตำบลกลางหมื่น ประกอบด้วย ศักยภาพนโยบายของผู้นำ กลไกการตรวจสอบ และการสนองตอบความต้องการของประชาชน และ 2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและภาคประชาชนต่อต้านการทุจริต ประกอบด้วย สมาชิกในชุมชนพึงตระหนักรู้บทบาทหน้าที่ของตน ถือปฏิบัติอย่างเต็มกำลังความสามารถ เน้นการสร้างความสามัคคี และแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง หากจะนำรูปแบบการดำเนินการนี้ไปใช้จำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าจะสามารถนำตัวแบบนี้ไปใช้ได้เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ชุมชนของตนได้หรือไม่ เนื่องจากบริบทของแต่ละสถานที่ย่อมมีความแตกต่างกัน   

  • Abstract
  •      The objectives of this study were: 1) to investigate the process and method of strengthening the community, the main factors of success in contributing to or getting strength in the fight against corruption in the community, and 2) to examine the recommendations on strengthening the community and civil society in the fight against corruption in community organizations in the Klang Muen Sub-district Municipality area, Mueang Kalasin district, Kalasin province. The target group included 6 representatives of community leaders and 12 representaives of community members of each village who resided in community in the Klang Muen Sub-district Municipality area. The study instrument employed an interview guide form. The quality of instrument was checked to find its validity as a whole by experts in content, language usage and coverage. Data were collected through in-depth interviews and focus group discussions. Data analysis was conducted based on the conceptual framework of the study and then the information was presented in written form, and its results and findings from the study were described accordingly.
         Results of the study revealed as follows: 1) The process and method of strengthening the community came from the declaration of community members’ intentions to fight against corruption in the area where they lived. The participants joined together in form of volunteer minds and then the community organization was created to fight against corruption. The main factors in the success of strengthening the community in the fight against corruption in the Klang Muen Sub-district Municipality area included potential of leaders, mechanism for monitoring, and people’s needs being met. And 2) recommendations on strengthening the community and civil society in the fight against corruption included awareness among community members of their roles and responsibilities and of their practicing accordingly in full capacity by focusing on building a unity and guiding the right way. If the type of operation is to be implemented, each needs to consider whether it will be used appropriately in their community area, because the context of one individual place is much different from that of another one.

    Download Full Paper: