Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ในบริบทประชาคมอาเซียน
Development of Competency Indicators of School Administrators Under the Office of the Basic Education Commission In the ASEAN Community Context

[เปิดดู 166 ครั้ง]

นงค์ แข็งแรง, วัลนิกา ฉลากบาง, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ พรเทพ เสถียรนพเก้า

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในบริบทประชาคมอาเซียน และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในบริบทประชาคมอาเซียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาตัวบ่งชี้ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน และการศึกษาพหุกรณีโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน จำนวน 6 โรง ระยะที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ และระยะที่ 3 การตรวจสอบตัวบ่งชี้ โดยสอบถามผู้บริหาร จำนวน 225 คน และครู จำนวน 450 คน ทั้งหมดจำนวน 675 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL)
         ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ในบริบทประชาคมอาเซียน มี 75 ตัวบ่งชี้ใน 10 สมรรถนะหลัก และ 31 สมรรถนะย่อย ประกอบด้วย การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน มี 3 สมรรถนะย่อย  มี 11 ตัวบ่งชี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มี 3 สมรรถนะย่อย มี 9 ตัวบ่งชี้ การสื่อสารและจูงใจ มี 4 สมรรถนะย่อย มี 8 ตัวบ่งชี้ การทำงานเป็นทีมมี 3 สมรรถนะย่อย มี 8 ตัวบ่งชี้ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ มี 3 สมรรถนะย่อย มี 6 ตัวบ่งชี้ การมีวิสัยทัศน์มี 3 สมรรถนะย่อย มี 6 ตัวบ่งชี้  การวิเคราะห์และสังเคราะห์ มี 4 สมรรถนะย่อย มี 8 ตัวบ่งชี้ การบริการที่ดีมี 3 สมรรถนะย่อย มี 6 ตัวบ่งชี้ การมีคุณธรรมจริยธรรม มี 3 สมรรถนะย่อย มี 7 ตัวบ่งชี้  การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียน มี 2 สมรรถนะย่อย มี 6 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ในบริบทประชาคมอาเซียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ (Chi-square = 318.07 df = 218 p-value = 0.00 GFI = 0.97 AGFI = 0.93 RMSEA = 0.02 และ CN = 493.67) เมื่อพิจารณาน้ำหนักองค์ประกอบของสมรรถนะหลักเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (0.71) การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียน (0.71)  การสื่อสารและจูงใจ (0.70) การมีคุณธรรมจริยธรรม (0.69) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ (0.68) การมีวิสัยทัศน์ (0.67) การบริการที่ดี (0.66) การมุ่งผลสัมฤทธิ์และความเป็นมืออาชีพ (0.65) การทำงานเป็นทีม (0.64) และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (0.63) ตามลำดับ

  • Abstract
  •      This study aimed: 1) to develop competency indicators of school administrators under the Office of the Basic Education Commission in the ASEAN Community context, and 2) to verify consistency between the developed model of competency indicators of school administrators under the Office of Basic Education Commission in the ASEAN Community context and the empirical data. The study was divided into 3 phases. Phase 1 – investigating indicators by study of papers and research, interviewing 9 experts, and examining multiple cases of 6 model schools in their development towards the ASEAN Community. Phase 2 – developing indicators by asking 21 experts through the use of a modified Delphi technique for 3 rounds. And phase 3 – verifying the indicators by asking 225 administrators and 450 teachers totaling 675 people who derived from multistage random sampling. The instrument used in data collection was a 5-rating scale questionnaire. Confirmatory factor analysis was conducted using RISREL.
         Findings of the study were as follows: 1. Competency indicators of school administrators which included 75 indicators in 10 core competencies and in 31 sub-competencies consisted of: having a body of knowledge about the ASEAN Community which possessed 3 sub-competencies and 11 indicators, using information technology which possessed 3 sub-competencies and 9 indicators, communicating and motivating which possessed 4 sub-competencies and 8 indicators, working as team which possessed 3 sub-competencies and 8 indicators, achievement-oriented which possessed 3 sub-competencies and 6 indicators, having a vision which possessed 3 sub-competencies and 6 indicators, analyzing and synthesizing which possessed 4 sub-competencies and 8 indicators, good service which possessed 3 sub-competencies and 6 indicators, having morality and ethics which possessed 3 sub-competencies and 7 indicators, and holding activity concerning the ASEAN Community which possessed 2 sub-competencies and 6 indicators. 2) The model of competency indicators of school administrators in the ASEAN Community context had a goodness-of-fit with the empirical data according to the hypothesis stated (Chi-square = 318.07, df = 218, p-value = .00, GFI = 0.97, AGFI = 0.93, RMSEA = 0.02 and CN = 493.67). Considering the factor loadings of components of core competencies, all components and their factor loadings were arranged in descending order as follows: having a body of knowledge about the ASEAN Community (0.71), holding activity concerning the ASEAN Community (0.71), communicating and motivating (0.70), having morality and ethics (0.69), analyzing and synthesizing (0.68), having a vision (0.67), good service (0.66), achievement-oriented and professionalism (0.65), working as team (0.64), and using information technology (0.63), respectively.

     

    Download Full Paper: