Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Causal Relationship Model of Factors Affecting the Quality of Early Childhood Education Management in Schools under the Offices of Primary Education Service Areas in the Northeast of Thailand

[เปิดดู 237 ครั้ง]

วสุกฤต สุวรรณเทน, วัลนิกา ฉลากบาง, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ คือ ระยะแรกเป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการศึกษาโรงเรียนดีเด่น ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 686 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์
          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สมรรถนะขององค์การ บรรยากาศของโรงเรียนและการบริหารจัดการเรียนรู้ สำหรับคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย คุณภาพผู้เรียน ประสิทธิภาพในการบริหารงาน การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน และความพึงพอใจในการทำงาน 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 65.84 P-value = 1 df = 127 RMSEA = 0.00 AGFI = 0.98 LSR = 1.94) การบริหารจัดการเรียนรู้มีอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยมากที่สุด รองลงมาคือ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร บรรยากาศของโรงเรียนและสมรรถนะขององค์การ ตามลำดับ 3) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สมรรถนะขององค์การ บรรยากาศของโรงเรียนและการบริหารจัดการเรียนรู้ สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ร้อยละ 57

  • Abstract
  •       The objectives of this study were: 1) to develop a causal relationship model of factors affecting the quality of early childhood education management in schools under the Offices of Primary Education Service Areas in the Northeast of Thailand, and 2) to verify the developed model with the empirical data. The study was divided into 2 phases. Phase 1 was the definition of conceptual framework in study by examining related papers and research, interviewing the experts and investigating the outstanding schools. Phase 2 was the examination of the study hypothesis. Data collection was conducted using a rating scale questionnaire. A sample selected by multi-stage random sampling comprised 686 school administrators and teachers of early childhood children in schools under the Offices of Primary Education Service Areas in the Northeast of Thailand. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. A statistical package was employed to conduct a confirmatory factor analysis and to verify the goodness-of-fit between the hypothesized model and the empirical data.
          The findings were as follows. 1) The developed causal relationship model of factors affecting the quality of early childhood education management comprised the following: academic leadership of school administrators, organizational competency, school climate, and learning management. The quality of early childhood education management comprised student quality, administration efficiency, being a learning organization, participation of parents and community, and job satisfaction. 2) The developed model showed a goodness-of-fit with the empirical data ( = 65.84 P-value = 1 df = 127 RMSEA = 0.00 AGFI = 0.98 LSR = 1.94). Learning management had a total influence that affected the quality of early childhood education management at the highest level, followed by academic leadership of school administrators, school climate, and organizational competency, respectively. 3) When considering the prediction coefficient (R2), it showed that academic leadership of school administrators, organizational competency, school climate, and learning management could jointly predict 75% of quality of childhood education management.

    Download Full Paper: