Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม
Quality of Work Life and Organizational Commitment of University Support Staff at Nakhon Phanom University

[เปิดดู 205 ครั้ง]

ตรีภพ ชินบูรณ์

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัย
    สายสนับสนุน 2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษา
    ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
    ศึกษาเป็นบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
    มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.6-1.0 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
    ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
         ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา
    เป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความภาคภูมิใจในองค์กร และค่าเฉลี่ยที่น้อยสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและ
    ถูกสุขลักษณะ ส่วนระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
    คา่ เฉลีย่ มากที่สดุ ได้แก่ ความผกู พนั ด้านบรรทดั ฐานของสังคมและองคก์ ร รองลงมาเปน็ ความผกู พันด้านรู้สกึ และการยอมรบั และคา่ เฉลีย่
    น้อยที่สุด คือ ความผูกพันด้านความต่อเนื่องและทุ่มเท 2) ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน จำแนกตาม
    ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งที่ปฏิบัติ และรายได้ พบว่าไม่แตกต่างกัน
    ส่วนสถานภาพการสมรส และหน่วยงานที่ปฏิบัติงานพบว่า มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3) คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r =.58)
    เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานด้านต่างๆ กับความผูกพันต่อองค์กร พบว่า ด้านความภาคภูมิใจในองค์กร
    (r =.49) มีความสัมพันธ์มากกว่าด้านอื่น รองลงมาเป็นด้านความสัมพันธ์อันดีในการทำงานร่วมกัน (r =.47) ส่วนด้านที่มีความสัมพันธ์
    น้อยกว่าด้านอื่นๆ ได้แก่ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน (r =.29)

  • Abstract
  •      This study aimed: 1) to investigate the degree of quality of work life and the degree of organizational commitment of Nakhon Phanom University support staff, 2) to examine organizational commitment of Nakhon Phanom University support staff as classified by personal factors, and 3) to inquire to the relationship between quality of work life and organizational commitment of Nakhon Phanom University support staff. A sample group of this study was 121 support staff members. The tool used was a 5-rating scale questionnaire which had discrimination power values ranging from 0.6 to 1.0 and a reliability coefficient of 0.95. Data analysis was conducted using percentage, mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient.

         Results of the study revealed as follows: 1) Quality of work life of the support staff as a whole was at moderate level. Considering as each aspect, the aspect that gained the highest mean score was of being proud of the organization and the one that gained the lowest mean score was of safe and hygienic environment; whereas organizational commitment of the support staff as a whole was at high level. Considering as each aspect, the aspect that gained the highest mean score was of commitment to norms of society and organization, followed by the aspect of commitment to feeling and acceptance. The aspect that gained the lowest mean score was of commitment to continuity and dedication. The organizational commitment of support staff as classified by personal factors of sex, age, education, work experience, job position and income was found not different, while classified by marital status and agency affiliated with, organizational commitment was found significantly different at the .01 level. 3) Quality of work life as a whole and organizational commitment were positively and significantly correlated at the .01 level (r = .578). When the relationship between each aspect of quality of work life and organizational commitment was considered, the aspect of being proud of the organization (r = .485) had more relationship with it than other aspects, followed by the aspect of good relationship in working together (r = .465); whereas the aspect that had less relationship with it than other aspects was that of job advancement and security (r = .285).

    Download Full Paper: