Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัยระหว่างกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับ กิจกรรมการเล่านิทาน

[เปิดดู 168 ครั้ง]

สุวรรณภา สุวรรณเพ็ชร ศิริดา บุรชาติ และ ปรีชา อุยตระกูล

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านและกิจกรรมการเล่านิทาน 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านและกิจกรรมการเล่านิทาน 3) เปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนกับหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ทั้ง 2 วิธี 4) เปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนปฐมวัยชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556  โรงเรียนชุมชนเอื้องก่อนาดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 2 ห้อง รวมทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่ม แล้วจับสลากเป็นกลุ่มทดลองด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับกิจกรรมการเล่านิทานอย่างละ 1 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ แบบทดสอบวัดพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.56 – 0.67, มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.31 – 0.62 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t –test (dependent Samples) และ t–test (Independent Samples)   

        ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดประสบการณ์พัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านและกิจกรรมการเล่านิทาน มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 96.40 /96.00 และ 92.85/ 90.00  2) มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ  91.88 และ 80.10  3)  เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการ หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ทั้งสองวิธี 4) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีพัฒนาการสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    คำสำคัญ : การเปรียบเทียบพัฒนาการเด็กปฐมวัย ; กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน ; กิจกรรมการเล่านิทาน

  • Abstract
  •     The purposes of this research  were to: 1) to examine an efficiency of the learning experiences management of pre-school children 2) to examine an effectiveness indexs of the experiences activities of  pre-school children 3) to compare of Early childhood children’ development between before and after  the experiences activities. 4) to compare development of the Early childhood children between using Folklore plays and Storytelling  Activities. The samples used were 40 students of Early childhood children from first year pre – school children on second semester of academic year 2014 at Auengkho – Nadee school, obtained by using the Cluster Random Sampling, then from into group by ballot. The tools used consisted of the experiences plans, 20 items of development test for pre-school children have the difficulties (p) ranging were 0.56 – 0.67, the discriminating powers ranging were 0.31 – 0.62 and the reliability issue was 0.83.  The collected data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t-test (dependent samples) and t-test (independent samples). 

        The results were as follow 1) The Early childhood children’ Development  through Folklore plays and Storytelling Activities have the efficiencies of the experiences were 96.40 /96.00 and 92.85/90.00. 2) The effectiveness indicies were 0.92 and 0.80. 3) The development of Early childhood children using  Folklore plays and Storytelling learning after learning were higher than those of  before learning at the .01 level of significance. 4) The Early childhood children who learned Folklore plays was higher than  Storytelling activities  at the .05 level of significance.

    Keywords : A Comparison  of Early childhood children’ Development ; Folklore Plays ; Storytelling Activities.

    Download Full Paper: