Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหาร โรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Development of Participative Management Model for School Boards of Private School in The Northeast Region of Thailand

[เปิดดู 230 ครั้ง]

ประภัสสร บุญบำเรอ, จำนง วงษ์ชาชม, วัลนิกา ฉลากบาง และ ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัย มี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษารูปแบบการบริหารหารมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชน โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และการศึกษาพหุกรณีโรงเรียนเอกชนต้นแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชน จำนวน 2 โรงเรียน โดยสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ และระยะที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบ โดยสอบถามคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 762 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

         ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยสนับสนุนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีความรู้ความสามารถ  การมีวัฒนธรรมและบรรยากาศองค์กรที่เอื้อต่อการทำงาน และการมีความรักความผูกพันต่อองค์กร องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการวางแผน              การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และองค์ประกอบ          ที่ 3 ประสิทธิผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องความสามารถในการปรับตัวของโรงเรียน และความสามารถในการแก้ไขปัญหาของโรงเรียน 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.46, S.D.=0.10) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยสนับสนุนการบริหารแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51 S.D.=0.38) ประสิทธิผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D.= 0.47) และกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D.=0.37) ตามลำดับ

     

    คำสำคัญ : รูปแบบ ; บริหารแบบมีส่วนร่วม ; คณะกรรมการบริหารเอกชน 

  • Abstract
  •     The objectives of this study were to develop and examine the appropriateness of the developed participative management model for school boards of private schools in the Northeast region of Thailand by implementing a mixed-methods research. The study was conducted in 3 phases. The first phase was the model drafting by studying relevant documents and researches, interviewing 7 experts and conducting a multi-case studies about Participative Management Model for School Boards of Private School on 2 outstanding private schools. The second phase was the model development by the implementation of modified Delphi technique for 3 times with 21 experts. Lastly, the third phase was the model examination by using a 5-level rating scale questionnaire with 762 stakeholders. Data was then analyzed by determining mean and standard deviation.

        The study found that: 1) The developed participative management model for school boards of private schools comprised 3 components, namely 1) supporting factors on the participative management, which consisted of (1) benefits from the operation (2) participation in decision making (3) knowledge and abilities (4) supportive organizational culture and environment and (5) organizational engagement; 2) participative management process, which consisted (4) participation in benefit receiving; 3) effectiveness of participative management, which consisted of (1) academic achievement (2) satisfaction of stakeholders                   (3) adjustment ability and (4) ability to solve problems. 2) The developed participative management model for school boards of private schools in the Northeast region of Thailand had an overall appropriateness at a high level (= 4.46). By mean value, each component could be prioritized from highest to lowest as follows: supporting factors on the participative management ( = 4.50), which was at the highest level, effectiveness of participative management ( = 4.46), which was at a high level, and participative management process ( = 4.38), which was at a high level.

    Keywords : Model ; Participative Management ; Boards of Private Schools

    Download Full Paper: