Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความตระหนักและพฤติกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 1
The Development of an Enrichment Curriculum on Knowledge, Awareness and Behavior Enhancement in Accordance with Sufficiency Economy Philosophy for Fourth Graders under Nakhon Phanom Primary Education Service Area Office 1

[เปิดดู 166 ครั้ง]

ศุภเดช พัฒธาญานนท์, พจมาน ชำนาญกิจ และ ประยูร บุญใช้

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหลักสูตรเสริม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t–test (Dependent Samples) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนนาถ่อนวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม

          ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบ 6 ด้านคือ หลักการและเหตุผลของหลักสูตรเสริม จุดมุ่งหมายของหลักสูตรเสริม โครงสร้างของหลักสูตรเสริม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ การวัดและประเมินผล หลักสูตรเสริมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดดี ( = 4.52, S.D. = 0.55) และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์มีความเหมาะสมมา ( = 4.43, S.D. = 0.55) 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมมีดังนี้ 2.1) ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.43 2.2) ความตระหนักเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.20 2.3) พฤติกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมอยู่ในระดับดี ( = 4.20, S.D. = 3.69) 2.4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อหลักสูตรเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 2.78)

    คำสำคัญ : หลักสูตรเสริม ; หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ; วิธีสอนแบบสตอรี่ไลน์

  • Abstract
  •      The objectives of this study were to:  1) develop an enrichment curriculum on knowledge, awareness and behavior enhancement in accordance with Sufficiency Economy Philosophy for fourth graders, 2) examine the result from the developed enrichment curriculum implementation, and 3) study student satisfaction on the developed enrichment curriculum. Statistics employed in data analysis were percentage, mean, and standard deviation, while the statistics used to test a hypothesis was t-test for dependent samples. Content analysis was also conducted on the qualitative data. The samples comprised of 21 fourth graders enrolled in the first semester of academic year B.E. 2558 (2015) at Nathon Withayanukul School under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1, selected through cluster random sampling by using schools as selection unit.

         The findings were as follows: 1) The developed enrichment curriculum on knowledge, awareness and behavior enhancement in accordance with Sufficiency Economy Philosophy for fourth graders comprised  6 components: (1) rationale, (2) objectives, (3) curriculum structure, (4) learning activities management, (5) media and sources of learning, (6) measurement and evaluation.. The appropriateness of the developed enrichment curriculum was at the highest level ( = 4.52, S.D. = 0.55), and the appropriateness of the learning management plans through the storyline approach was at high level ( = 4.43, S.D. = 0.55); 2) The implementation result of the developed enrichment curriculum yielded the following findings: 2.1) Knowledge o on Sufficiency Economy Philosophy of students who participated in the developed enrichment curriculum was statistically higher than that before participation at the 0.5 level of significance with a mean score of 84.43; 2.2) Awareness of Sufficiency Economy Philosophy of  students who participated in the developed enrichment curriculum was statistically higher than that before participation at the .05 level of significance with a mean score of 86.20;  2.3) Behavior in accordance with Sufficiency Economy Philosophy of students who participated in the developed enrichment curriculum was at good level ( = 4.20, S.D. = 3.69) and  2.4) Student satisfaction on the developed enrichment curriculum was at the highest level ( = 4.68, S.D. = 2.78).
     

    Keywords : Enrichment Curriculum ; Sufficiency Economy Philosophy ; Teaching Method Storyline Approach

    Download Full Paper: