Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร
The Development of an Enrichment Curriculum onAnalytical Thinking Skill Enhancement for Sixth Graders at Anuban Sakon Nakon School

[เปิดดู 173 ครั้ง]

เพชรปาณี อินทรพาณิชย์ สำราญ กำจัดภัย และสมพร หลิมเจริญ

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริม 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหลักสูตรเสริม ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร จำนวน 3 ห้องเรียนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

          ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ (1) หลักการ หลักสูตรเสริมสร้างขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการออกแบบย้อนกลับ ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ (2) จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 5 ประการคือ การสังเกตและการจำแนก การจัดกลุ่ม การวิเคราะห์เหตุผล การนำไปใช้ และการทำนาย (3)ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมี 14 ประการ (4) โครงสร้างเนื้อหา มี 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ เปิดประตูสู่อาเซียน เพียรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมพรักคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำใส่ใจชีวี มีวิถีอยู่อย่างสันติ จำนวน  28 ชั่วโมง (5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้วิธีการและเทคนิคที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์แก่ผู้เรียน (6) สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ เป็นสื่อประเภทวัสดุ เอกสารเครื่องมือและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และ (7) การวัดและประเมินผล มีการวัดก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน  ผลการตรวจสอบร่างหลักสูตรเสริมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (=4.65, S.D.=0.56) 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมพบว่า 2.1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012.2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหลักสูตรเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.83, S.D.= 0.41)

    คำสำคัญ : การพัฒนา ; หลักสูตรเสริม ; ทักษะการคิดวิเคราะห์

  • Abstract
  •       The objectives of this study were: 1) to develop an enrichment curriculum to enhance analytical thinking skill of sixth graders, 2) to examine the results after the implementation of the developed enrichment curriculum, and 3) to study student satisfaction on the developed enrichment curriculum.                  The methodology employed in this study was Research and Development. The samples, obtained through Cluster Random Sampling, were 3 classes of sixth graders at Anuban Sakon Nakhon School. The research instruments consisted of an analytical thinking skills test and a satisfaction questionnaire. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test.

          The findings were as follows: 1) The developed extra curriculum  comprised seven components:  (1) Principles- the enrichment curriculum was created on the concept of participation process and the backward design, , which enabled students to complete given tasks by themselves to develop analytical thinking skill; (2) Objectives – the objective of analytical thinking skill development consisted of  five aspects, namely observation and classification, grouping, analysis and reasoning, application, and prediction;                       (3) Expected Learning Outcomes – consisted of 14 aspects; (4) Content Structure – was the 28-hour structure comprising five learning units: Open Doors to ASEAN, Environment Conservation, Moral and Ethical Behavior Improvement, the Application of Analytical Thinking in Life, and Living Together in Peace and Harmony;                 (5) Learning Activity Management – comprised the student-centered activities through various methods and techniques to enhance and develop students’ analytical thinking skill, (6) Instructional Materials and Learning Resources – comprised materials in software, printed materials, equipment, and different learning resources, and (7) Measurement and Evaluation – involved pretest, formative test, and posttest. The appropriateness of the enrichment curriculum draft, based on the experts’ opinion, was at the highest level (=4.65, S.D.=0.56); 2) After the implementation, the results revealed that 2.1) sixth graders who participated in the developed enrichment curriculum had statistically higher analytical thinking skill than that before participation at the .01 level of significance; 2.2) Student satisfaction on the developed enrichment curriculum was at the highest level (=4.83, S.D.= 0.41)

    Keywords : Development ; Enrichment Curriculum ; Analytical Thinking skill

    Download Full Paper: