Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การประยุกต์และออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงของนาฏศิลป์ไทยและกัมพูชา
The Application and Creative Design in Arts Performing of the Thai and Cambodia Dramatic Arts

[เปิดดู 166 ครั้ง]

ชัยณรงค์ ต้นสุข ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ และ อุรารมย์ จันทมาลา

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์และออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงที่มีอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมระหว่างนาฏศิลป์ไทยและกัมพูชา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 25 คน บุคคลทั่วไปจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

         ผลการวิจัยพบว่า 1) นาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์กัมพูชาเป็นศิลปะการแสดงประจำชาติ มีความคล้ายคลึงกันและอาจกล่าวได้ว่ามีวัฒนธรรมการแสดงที่ใกล้เคียงกันทั้งยังได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ พบว่านาฏศิลป์กัมพูชาได้รับอิทธิพลของละครไทยจึงส่งผลโดยตรงสู่การละครในราชสำนักกัมพูชา 2) การประยุกต์และออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงที่มีอัตลักษณ์ร่วมทางวัฒนธรรมมีกระบวนการสร้างสรรค์ท่ารำ               แบบผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์กัมพูชา ประกอบด้วย ท่าหลักนาฏศิลป์ไทยจำนวน 15 ท่า ท่าหลักนาฏศิลป์กัมพูชาจำนวน 10 ท่า และท่าเชื่อมจำนวน 9 ท่า โดยการสร้างแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง จากบริบท               ด้านองค์ประกอบของศิลปะการแสดง ได้แก่ รูปแบบการแสดง การออกแบบท่ารำ การออกแบบเครื่องแต่งกาย การแปรแถวและการบรรจุดนตรี เป็นการแสดงชุดระบำนาฏยาอัปสรานฤมิตที่มีลีลาท่ารำและดนตรีผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์กัมพูชาที่บูรณาการวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของทั้งสองประเทศได้อย่างมีสุนทรียะด้านศิลปะการแสดง         

    คำสำคัญ : การประยุกต์และออกแบบสร้างสรรค์ ; นาฏศิลป์ไทย ; นาฏศิลป์กัมพูชา

  • Abstract
  •       The objective of this study was twofold: to investigate the application and to examine the creative design of performing arts which possess the shared cultural features in the identities of the Thailand and Cambodia dramatic arts. The type of study was qualitative research by means of reviewing documents and collecting field data of survey, observation and interview from 8 experts, 25 performers and 15 general people. The instruments used in data collection were a survey, an observation form and an interview guide. The analytical results were presented by descriptive analysis.

          The findings were as follows: 1) Both Thai and Cambodia dramatic arts are national performing arts which are similar to each other. And it may be said that both countries have a similar culture and they likewise have received the patronage of their kings and royalty. However, from the study of history, it was found that the Cambodia dramatic arts were influenced by Thai drama. Thus, the Thai drama directly affected the dramatics in the Royal Court of Cambodia. 2) The application and creative design of performing arts which possess the shared cultural features of identities have a process of creating the dancing postures by mixing dramatic arts of Thai with those of Cambodia.  All the mixed arts comprised 15 postures of main Thai dramatic arts, 10 postures of main Cambodia dramatic arts, and 9 postures of joint links. The theory and concept of creating the performing arts derived from the context of components of performing arts, namely performing the styles, designing the dancing postures, designing the costumes, varying the procession in dance row and containing the compatible music to the dance. A performing arts show called ‘Rabum Nattaya Apsara Naruemit’ has rhythmic dance postures and music mixed together, which integrates the culture and identities of Thai dramatic arts with those Cambodia dramatic ones of both countries to be the esthetically pleasing performing arts.

    Keywords : Application and Creative Design ; Thai Dramatic Arts ; Cambodian Dramatic Arts   

    Download Full Paper: