Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
Strategies for Development of Tourism on the Thailand-Cambodia Border in the Si Sa Ket Province Area under the Irrawaddy-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy

[เปิดดู 160 ครั้ง]

จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์, มาลี ไชยเสนา และ สุวภัทร ศรีจองแสง

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณจังหวัดศรีสะเกษ 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณจังหวัดศรีสะเกษ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ประชากรที่อาศัยอยู่ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณอำเภอภูสิงห์ อำเภอขุนหาญและอำเภอกันทรลักษ์ จำนวน 2,365 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้ตาราง Krejcie & Morgan และสุ่มอย่างง่าย จำนวน 325 คน ระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีความรู้และประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว จำนวน 35 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และ ระยะที่ 3 กำหนดผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มคือ ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการท่องเที่ยว จำนวน 15 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 23 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินศักยภาพการท่องเที่ยว มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97  แบบบันทึก SWOT Analysis แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ SWOT TOWS Matrix และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก พบว่า จุดแข็งมีคะแนนเท่ากับ 3.01 จุดอ่อนมีคะแนนเท่ากับ 3.03 โอกาสมีคะแนนเท่ากับ 3.82 และอุปสรรคมีค่าคะแนนเท่ากับ 2.89 ผลการวิเคราะห์ TOWS Matrix มีค่าสูงสุดอยู่ที่จุดอ่อนและโอกาส 3) การนำเสนอยุทธศาสตร์พบว่า มี 5 ยุทธศาสตร์ 37 กลยุทธ์ 158 มาตรการ 133 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1) การวางแผนการท่องเที่ยว 2) การตลาดการท่องเที่ยว 3) การพัฒนาบริการและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยว 4) การสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมการท่องเที่ยว และ 5) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ พบว่า ด้านวิสัยทัศน์และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 2 3 และ 5 มีศักยภาพด้านความเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด ส่วนประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้ระดับมาก     

    คำสำคัญ : ยุทธศาสตร์การพัฒนา ; การท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา ; ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ

  • Abstract
  •       The purposes of this study were: 1) to investigate the potential of tourism at the Thailand-Cambodia border in the Si Sa Ket province area, 2) to analyze the internal and external environment of tourism at the Thailand-Cambodia border in the Si Sa Ket province, and 3) to propose strategies for development of tourism on the Thailand-Cambodia border in the Si Sa Ket province area. The study population was divided into phases. Phase 1: the population of 2,365 who lived at the Thailand-Cambodia border in the areas of Phusing, Khunhan and Kantharalak districts. A sample of 325 people whose size was determined using the Krejcie and Morgan’s table was selected by simple random sampling. Phase 2: the target group of 35 people was selected by purposive sampling from those who had knowledge and experience in tourism. And phase 3: the participants in focus group discussion comprised 15 people who had knowledge and expertise of tourism, and other 23 specialists. All were selected by purposive sampling. The instruments used were             a form for assessment of the tourism potential whose entire reliability was 0.97, a form of SWOT Analysis,   a form of paper note taking of focus group discussion, and a form of assessing the appropriateness and feasibility of the strategies. Statistics used were mean, and standard deviation.  Analyses of SWOT, TOWS Matrix and contents were conducted.

          The findings revealed as follows. 1) The overall potential of tourism at the Thailand-Cambodia border was at moderate level. 2) It was found from the internal and external environment analyses that strengths gained a mean score of 3.01; weaknesses gained a mean score of 3.03; opportunities gained                      a mean score of 3.82; and threats gained a mean score of 2.89. The highest values from the analytical result of TOWS Matrix were at weakness and opportunity. 3) This study proposed 5 strategies, 37 stratagems, 158 measures and 133 indicators, which consisted of the following: 1) tourism planning, 2) tourism marketing,             3) service development and tourism supporting factor, 4) creation of confidence and promotion of tourism, and 5) promotion of involvement by the public and private sectors including local administration organizations. The results of assessing appropriateness and feasibility of the strategies showed that the vision aspect and strategic issue numbers 1, 2, 3 and 5 had appropriateness and feasibility at the highest level, while strategic issue number 4 had the highest level of appropriateness and high level of feasibility.

    Keywords : Development Strategies ; Tourism at the Thailand-Cambodia Border ; Cooperation Strategy

     

    Download Full Paper: