Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของค่านิยมหลักด้านการผลิต การมุ่งด้านการตลาด และการจัดการนวัตกรรมของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน ในเขตอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
The Causal Relationship among Core Value of Production, Market Orientation and Innovativeness of the Furniture Business in the Sung Men District Area, Phrae Province

[เปิดดู 185 ครั้ง]

ภาศิริ เขตปิยรัตน์

  • บทคัดย่อ
  •        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของค่านิยมด้านการผลิต การมุ่งด้านการตลาด และการจัดการนวัตกรรม และ 2) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของค่านิยมด้านการผลิต การมุ่งด้านการตลาด และการจัดการนวัตกรรมของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน ในเขตอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ          โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าของกิจการธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน ในเขตอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ จำนวน 1,700 คน กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าของกิจการธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน จำนวน 340 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรมลิสเรล

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การมุ่งด้านการตลาดมีอิทธิพลต่อการจัดการนวัตกรรมมากที่สุด รองลงมา คือ ค่านิยมด้านการผลิต และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการจัดการนวัตกรรมผ่านตัวแปรขั้นกลางคือการมุ่งด้านการตลาด และ 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า โมเดลการวิเคราะห์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 12.8, df = 8, p = 0.119, GFI = 0.99, AGFI = 0.96) แสดงว่าโมเดลมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี อีกทั้ง องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการจัดการนวัตกรรมมากที่สุด ดังนี้ อิทธิพลทางตรง คือ การมุ่งด้านการตลาด อิทธิพลทางอ้อม คือ ค่านิยมด้านการผลิต โดยองค์ประกอบดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนของการจัดการนวัตกรรมได้ร้อยละ 89

    คำสำคัญ :  ค่านิยมด้านการผลิต; การมุ่งด้านการตลาด; การจัดการนวัตกรรม; ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน;  ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

  • Abstract
  •       This study aimed: 1) to investigate the causal relationships among core value of production, market orientation and innovativeness, and 2) to develop a causal relationship model among core value of production, market orientation, and innovativeness of the furniture and furnishings business in the Sung Men district area, Phrae province. The methodology was quantitative research. Population used in study was 1,700 entrepreneurs of a furniture and furnishings business in the Sung Men district area, Phrae province. A sample was 340 entrepreneurs of a furniture and furnishings business who were selected by multi-stage random sampling. The research instrument was a questionnaire. Structural equation modeling for testing causal models from RISREL was used.

          The findings were as follows: 1) Market orientation had more influence on innovativeness than did core value of production and core value of production had indirect influence on innovativeness across the market orientation variable;  and 2) the causal relationship model from the result of data analysis was found  that the analytical model had goodness-of-fit with the empirical data (c2 = 12.8, df = 8, p = 0.119, GFI = 0.99, AGFI = 0.96). This result shows that the model had a high criterion of fit. The factor that had the greatest direct influence on innovativeness was market orientation and that had the greatest indirect influence on innovativeness was core value of production. Such factors could together explain up to 80% of the variance of innovativeness.

    Keywords : Core Value of Production ; Market Orientation ; Innovativeness ; Furniture and Furnishings   Business ; Causal Relationships 

    Download Full Paper: