Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ผลของการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อสุขภาพจิตและความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
The Effects of Rhythmic Dynamic Meditation on Mental Health and Emotional Intelligence of UdonThani Rajabhat University Students

[เปิดดู 165 ครั้ง]

ไกรฤกษ์ ศิลาคม และ หัสดิน แก้ววิชิต

  • บทคัดย่อ
  •        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวที่มีต่อสุขภาพจิตและความฉลาดทางอารมณ์ระหว่างนักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิตกับนักศึกษาที่ไม่มีปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาจริยธรรมกับชีวิต สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 30 คน ได้จากการอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาที่ไม่มีปัญหาสุขภาพจิต จำนวน 22 คน และกลุ่มนักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิต จำนวน 8 คน ซึ่งได้จากการคัดกรองโดยแบบสอบถามสุขภาพทั่วไป (General Health Questionnaire) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ ประกอบด้วย ดัชนีความสุขคนไทยฉบับสมบูรณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 และแบบสอบถามสุขภาพทั่วไป มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

           ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ไม่มีปัญหาสุขภาพจิตมีดัชนีความสุข และความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้นหลังได้รับการฝึกเจริญสติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขณะที่พบแนวโน้มคะแนนที่สูงขึ้นของดัชนีความสุข และความฉลาดทางอารมณ์ และแนวโน้มที่ลดลงของปัญหาสุขภาพจิต แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึกเจริญสติแบบเคลื่อนไหวในนักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิต เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า หลังได้รับการฝึกเจริญสติแบบเคลื่อนไหว นักศึกษาที่ไม่มีปัญหาสุขภาพจิตมีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่านักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างในด้านองค์ประกอบทางสุขภาพจิต

    คำสำคัญ : เจริญสติแบบเคลื่อนไหว ; สุขภาพจิต ; ความฉลาดทางอารมณ์

  • Abstract
  •          The purpose of this study was to compare the effects of rhythmic dynamic meditation on mental health and emotional intelligence of those students who have mental health problems with those who do not have health problems. A sample was 30 undergraduate volunteer students who were enrolled in the Morality and Life course, Institute of General Education, Udon Thani Rajabhat University. . Deriving from being screened by the General Health Questionnaire, all students were divided into 2 groups: one group being 22 students who did not have mental health problems and the other group being 8 students who had mental health problems. The instrument used was a 4-rating scale assessment form comprising: the Thai people’s happiness index in the complete version with a reliability coefficient of 0.89, the form for assessing emotional intelligence with a reliability coefficient of 0.83, and the General Health Questionnaire with a reliability coefficient of 0.78. Statistics used were mean, standard deviation, and t-test.

             The findings indicated that those students without mental health problems gained a significantly higher happiness index and emotional intelligence after they practiced rhythmic dynamic meditation than those they gained before the meditation practice at the .01 level; whereas they tended to gain a higher score of both happiness index and emotional intelligence and they tended to decline in mental health problems. However, those students with mental health problems were not found different in both of the happiness index and emotional intelligence between before and after their practice in rhythmic dynamic meditation. From the comparison of students after their practice in rhythmic dynamic meditation, those without mental health problems had significantly higher emotional intelligence than those with mental health problems at the .05 level; whereas they were not found different in mental health factors.

    Keywords : Rhythmic Dynamic Meditation ; Mental Health ; Emotional Intelligence

    Download Full Paper: