Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ไอซีทีเป็นฐานร่วมกับแนวคิด คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

[เปิดดู 211 ครั้ง]

วรรณิกา ชาญพิชญาพรวัฒน์, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์ พิพัฒน์ และ เพลินพิศ ธรรมรัตน์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ไอซีทีเป็นฐานร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี จำนวน 64 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยแบบทดสอบ แบบวัด และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
         ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ                      1. หลักการมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการนำเสนอประเด็นปัญหา กระตุ้นให้แสวงหาความรู้ โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ เรียนรู้และสร้างประสบการณ์ร่วมกัน พัฒนาทักษะปฏิบัติ ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการค้นหาและสร้างสรรค์ผลงาน วัดและประเมินผลที่หลากหลายวิธีการ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก 2. จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเสริมสร้างความสามารถในการใช้สารสนเทศ 3. เนื้อหาที่ใช้คือสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 4. กระบวนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 ขั้น ได้แก่ ขั้น (1) สร้างประสบการณ์ร่วมกัน (2) ฝึกคิดวิเคราะห์ (3) เชื่อมโยงความรู้ (4) สร้างองค์ความรู้ (5) ปฏิบัติการประยุกต์ใช้ความรู้ (6)สะท้อนผลการเรียนรู้ และ 5. การวัดผลและประเมินผล ใช้วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง       ทำการวัดก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน 2) ผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า 2.1) ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์หลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3) ความสามารถในการใช้สารสนเทศหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก (=4.33, S.D.=0.63)

  • Abstract
  •      The purposes of this study were : 1) to develop a mathematics instruction model using information and communication technology (ICT) as a base together with the constructivism concept for enhancing mathematical process skill and learning achievement of upper secondary school students, 2) to examine the result of implementing the mathematics instruction model, and 3) to examine students’ satisfaction of learning through the instructional model. Research methodology by the research and development. A sample was 64 fifth-year secondary students at Suankularb Wittayalai School, Chon Buri by Cluster Random Sampling. The instruments which Test, Measure and Questionnaire . Statistics used in data were mean, standard deviation and t-test.
         The findings can be concluded as follows : 1. The mathematics instruction model has five key elements: 1) principle:The study aimed to learn from the present issues, Stimulate knowledge acquisition By linking existing knowledge to new knowledge, Learning and sharing experience , Develop practical skills Using a computer network to find and create work , Measure and evaluate a variety of methods , Teacher as facilitator, 2) objectivity: For technical and mathematical processes , Development  Achievement and strengthen the ability to use information. 3) contents is the subject of learning math at grade five 4) learning management process : Six step process, learning management  (1) including the creation of a common experience (2) Analytical thinking (3)Linking knowledge (4)Creating knowledge (5)Practical application of knowledge (6)Reflection on learning 5) measuring and evaluating using a Variety of methods based on authentic  assessment  befor classes during and after learning . 2) The results of implementing the mathematics instruction model appear as follows:  2.1)  Mathematical process skill, learning achievement, and ability in using information of the treatment group after learning through the mathematics instruction model was significantly higher than of the control group, at the .01 level. 3) The students were satisfied with learning through the mathematics instruction model at high level. (=4.33, S.D.=0.63)

    Download Full Paper: