Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาระบบการเรียนโดยใช้ชุมชนเสมือนจริงเป็นฐาน ที่ส่งเสริมความรู้และสมรรถนะ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ของนักศึกษาครูในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
The Development of Virtual Community Based Learning System to Improve Knowledge and Competency of Educational Innovation and Information Technology for Teacher Students in Public Higher Education Institutions

[เปิดดู 178 ครั้ง]

สุวิสาข์ เหล่าเกิด, สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ และวชิระ อินทร์อุดม

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความรู้และสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 2) พัฒนาระบบการเรียนโดยใช้ชุมชนเสมือนจริงเป็นฐานที่ส่งเสริมความรู้และสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษาครูในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ 3) ศึกษาผลการใช้ระบบการเรียนโดยใช้ชุมชนเสมือนจริงเป็นฐานฯ  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาครูในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทั่วประเทศ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 415 คน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาและหาคุณภาพระบบการเรียนฯ ใช้การประเมินหาความสอดคล้องและความเหมาะสม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน และหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายฯ ระยะที่ 3 การทดลองระบบการเรียนโดยใช้ชุมชนเสมือนจริงเป็นฐานฯ ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 10 สัปดาห์ โดยเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้ 1) การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้แผนการทดลองแบบ One Group Pre test Post test Design 2) การประเมินทักษะ วัดทักษะก่อนและหลังการเรียนโดยศึกษาพัฒนาการของทักษะเป็นรายบุคคล และ 3) การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 50 คน
         ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระความรู้และสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครู  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเห็นความสำคัญการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในในระดับมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน มีข้อเสนอแนะว่าควรเน้นการฝึกทักษะปฏิบัติให้ความสำคัญและเวลาในกระบวนการผลิตชิ้นงานนวัตกรรม 2) ระบบการเรียนโดยใช้ชุมชนเสมือนจริงเป็นฐานฯ มี 6 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ (1) ความสัมพันธ์ในแบบสังคม (2) การเป็นสมาชิก (3) การแบ่งปัน (4) แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม (5) การแสดงผลงาน (6) การประเมินค่า ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินระบบการเรียนมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง  และบทเรียนบนเครือข่ายมีประสิทธิภาพ E1/E2 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ทุกหน่วยการเรียน 3) ผลการทดลองระบบการเรียนฯ นักศึกษามีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษามีการพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ทั้ง 3 เกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 88.67 ของนักศึกษาทั้งหมด และนักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมาก

  • Abstract
  •      The study aims to 1) investigate current problems and instructional guideline to improve knowledge and competency of educational innovation and information technology, 2) improving the virtual community based learning system, and 3) examining output of the using of virtual community based learning system for the teacher students in public higher education institutions. The study is based on the Research and Development approach, and divided into 3 phrases. On phrase 1, documentation reviews are conducted and together with a survey to reveal current problems and instructional guideline promoting knowledge and efficiency on educational innovation and information technology. Questionnaire is used to collect primary data from students and teachers, who totally 415 persons. Sample is selected by multi-step sampling. In addition, in-depth interview is conducted with 15 of learning system specialists. On phrase 2, the study is about to improve the community-based learning system. Consistency evaluation is used to collect data from 7 specialists, and find out lesson competency based on the community-based learning approach. On phrase 3, the study aims to test the community-based learning system. 10 weeks-working of the test are conducted to collect data which is 1) the test of learning achievement which is designed by One Group Pre test – Post test Design, 2) pre and post skill evaluation by using the specific scoring approach to evaluate skill improvement individually, and 3) satisfaction of teacher students, who are 50 students of Sakon Nakorn Rajabhat University.
         Research results found that 1) level of the teacher student’s attitude is medium on the knowledge and competency of educational innovation and information technology, while level of student’s attitude on the development of learning quality is high. Instruction scholars suggested that practicing skills and concerning time in the innovative work production are important. 2) The virtual community based learning system has 6 vital elements which are (1) society relationships, (2) membership, (3) sharing, (4) resource, (5) presentations, and (6) evaluation. Scholars evaluate the appropriate learning system and the effective online lessons (E1/E2) based on the criteria of 80/80 to all learning unit. 3)  Students have more learning achievement in the post evaluation with a statistically significance level of 0.05. Students have been developed skill of educational innovation and information technology by 88.67%, and students satisfy the virtual community based learning system with high level.

    Download Full Paper: