Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Causal Relationship Model of Administrative Factors on Student Quality in Schools under Primary Educational Service Area Offices in the North-Eastern Region

[เปิดดู 161 ครั้ง]

อรัญญา ชนะเพีย, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วัลนิกา ฉลากบาง และ ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ2) ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการศึกษาโรงเรียนดีเด่น ระยะที่ 2 เป็นการตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 504 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์
         ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  วัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การ  การบริหารเชิงกลยุทธ์  สุขภาพองค์การ และพฤติกรรมการสอนของครู  2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ วัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การมีอิทธิพลรวมต่อคุณภาพผู้เรียนมากที่สุด รองลงมาคือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการสอนของครู การบริหารเชิงกลยุทธ์ และสุขภาพองค์การ โดยปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ร่วมกันอธิบายคุณภาพผู้เรียนได้ร้อยละ 62

  • Abstract
  •      The objectives of this study were to 1) develop a causal relationship model of administrative factors on student quality in schools under primary educational service area offices in the north-eastern region and 2) verify the developed causal relationship model of administrative factors on student quality with the empirical data. The study was divided into 2 phases.  Phase 1 was the construction of research conceptual framework by the analysis of relevant papers and researches, expert interview and the study on outstanding schools. Phase 2 was the hypothesis test. Data was collected by using a set of rating scale questionnaire. The subject group consisted of school directors and teachers in each subject in schools under primary educational service area offices in the north-eastern region, total of 504 persons by multi-stage sampling procedure. Data analysis was done by finding its frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The analysis of the confirmatory factors and the examination of goodness of fit between the hypothesis model and the empirical data were executed with statistical program.
         The findings were as follows : 1) A causal relationship model of administrative factors on student quality in schools under primary educational service area offices in the north-eastern region comprised 5 factors : transformational leadership, organizational learning culture, strategic administration, organizational health and teaching behaviors of teachers. 2) The developed model has goodness-of-fit with the empirical data. Total effects, from highest to lowest, were organizational learning culture, transformational leadership, teaching behaviors of teachers, strategic administration and organizational health. The administrative factors on student quality could altogether explain 62 percent of student quality.

    Download Full Paper: