Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

มโนทัศน์เรื่อง “อำนาจ” ในวรรณกรรมอิงพงศาวดารจีนเรื่อง “เลียดก๊ก”

[เปิดดู 198 ครั้ง]

บาหยัน อิ่มสำราญ

  • บทคัดย่อ
  •     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์เรื่อง “อำนาจ” ในวรรณกรรมพงศาวดารจีนเรื่อง เลียดก๊ก ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามในประวัติศาสตร์จีนประมาณ 2,000 ปีก่อน โดยนำกรอบแนวคิดเรื่องอำนาจในทางสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายการทำงานของอำนาจ ในบริบทของสังคมที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง อันได้แก่ สถานการณ์สงคราม ดังเช่นที่ปรากฏในวรรณกรรมพงศาวดารจีนเรื่องเลียดก๊ก       ผลการวิจัย     สรุปได้ว่า “อำนาจ” แม้จะเป็นพลังที่ไร้ตัวตนแต่สามารถกระทำการได้ผ่านผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ อำนาจมีคุณสมบัติที่ไม่คงที่ จึงไม่มีผู้ใดถือครองอำนาจไว้ชั่วกัลปาวสาน นอกจากนั้นบทเรียนจากประวัติศาสตร์การทำสงครามในวรรณกรรมพงศาวดารจีนเรื่องเลียดก๊ก ยังทำให้เห็นถึงความเพียรพยายามของมนุษย์ในการจัดการกับอำนาจให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อรักษาดุลแห่งอำนาจในสังคม

  • Abstract
  •      This research aims to study the concept of power in the Chinese chronicle literature “Liad Kok” (Warring  States) by regarding the wars in the Chinese history about 2,000 years ago. This work applies the concept of “power” in social science to describe the power in the severe conflicts such as the situation of wars in “Liad  Kok”. It concluded that even though the power is invisible, it could operate by the offenders and the offended. The characteristic of power was not stable, so anyone could not hold it for long. In addition, the lessons of waging wars in the literature “Liad Kok” demonstrated the human effort of commanding the power in the suitable setting to keep the social balance.

    Download Full Paper: