Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ กรณีศึกษา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม
Guidelines for Promoting the Use of Information Technology to Support Knowledge Management: The Case Study of Faculty of Management and Information Technology, Nakhon Phanom University

[เปิดดู 158 ครั้ง]

เดชา วงศ์ปัสสะ, วิชญวัชญ์ เชาวนีรนาท, และ สมบูรณ์ ชาวชายโขง

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ 2) ศึกษาความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ กรณีศึกษา คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม จำานวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

        ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.94, = 0.53) โดยพบว่า มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ในระดับปานกลาง ( = 3.06, = 0.63) คือ มีการใช้อีเมล เป็นเครื่องมือและช่องทางในการติดต่อสื่อสารและนำาส่งไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ภายในคณะฯ   (= 4.00, = 0.66) 2) ความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ มีความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.90, = 0.42) โดยมีความต้องการใช้เทคโนโลยีจัดเก็บ มากที่สุด ( = 4.03 , = 0.39) คือ มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการทำางานภายในคณะฯ โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel ( = 4.47, = 0.73) 3) แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการความรู้ พบว่า ควรส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 3.1) เทคโนโลยีการสื่อสาร ได้แก่ อีเมล (E-mail) ระบบสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless LAN) หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) เช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) เป็นต้น 3.2) เทคโนโลยีสนับสนุนการทำางานร่วมกัน ได้แก่ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ การจัดทำาบทเรียนออนไลน์ (e-learning) มีการแชร์ทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่าย เอกสาร และการใช้ระบบสนับสนุนการทำงาน เช่น โปรแกรม Google App for Education เป็นต้น และ 3.3) เทคโนโลยีจัดเก็บ ได้แก่ การใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพา เช่น ฮาร์ดดิสก์/แฟลชไดร์ฟ การใช้ระบบบริการการศึกษา การจัดทำระบบฐานข้อมูล เช่น ระบบงานสารบรรณ ระบบงานบุคลากร เป็นต้น

  • Abstract
  •      The purposes of this study were: 1) to investigate the state of using information technology to support knowledge management, to examine the needs of using information technology to support knowledge management, and 3) to explore guidelines for promoting the use of information technology to support knowledge management by studying Faculty of Management and Information Technology in Nakhon Phenom University as a case. The population of study consisted of administrators, instructors and offi cers in Faculty of Management and Information Technology, Nakhon Phenom University totaling 51 people. The instruments used in data collection were a questionnaire and an interview. Statistics used in analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. 

        The findings were as follows: 1) the state of using information technology to support knowledge management as a whole was at moderate level ( = 2.94, = 0.53). Communication technology was used at moderate level ( = 3.06, = 0.63), while e-mail was used as a tool and channel in communications and in sending electronic document files for supporting knowledge management inside the Faculty ( = 4.00, = 0.66). 2) The overall need of using information technology to support knowledge management was at high level ( = 3.90, = 0.42). The need to use technology to store has been found at the highest level ( = 4.03, = 0.39) by storing information and knowledge concerning the work inside the Faculty through the use of Microsoft Offi ce such as Microsoft Word, Microsoft Excel ( = 4.47, = 0.73). 3) The guidelines for promoting the use of technology to support knowledge management revealed that the technologies to be promoted to use included: 3.1) communication technology, including e-mail, wireless LAN or social media such as Facebook, etc.; 3.2) technology for supporting collaboration, including the use of computer, making an online lesson (e-learning), joint resources sharing such as printer, photocopier and using the system to support working such as using Google App for Education, etc.; and 3.3) technology for storing, including the use of portable storage devices such as hard disc/ fl ash drive, using the education service system and creating a database system such as correspondence system, personnel system, etc.

    Download Full Paper: