Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายวังยางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Transformational Leadership of Administrators in Schools of the Wangyang Patthana Network Under Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1

[เปิดดู 192 ครั้ง]

ประวีณา คำมูล และ รชฏ สุวรรณกูฏ

  • บทคัดย่อ
  •                 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายวังยางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง             ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายวังยาง จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน พนักงานราชการ ครูช่วยสอน และพี่เลี้ยงเด็กพิการ จำนวน 93 คน       สุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25-0.94 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ t-test  F-test ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe

                    ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายวังยางพัฒนา มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้านได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์   2) บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา   โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ไม่แตกต่างกัน 3) บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาด      2)ต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการสร้างแรงบันดาลใจด้านการกระตุ้นทางปัญญาและด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ไม่มีความแตกต่างกัน

     

    คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง / ผู้บริหารสถานศึกษา / โรงเรียนในเครือข่ายวังยางพัฒนา

     

                                                         
              

  • Abstract
  •             The purposes of this study were: 1) to investigate transformational leadership of administrators in schools of the Wangyang Patthana Network under Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1, 2) to compare transformational leadership of administrators in schools of the Wangyang Phatthana Network as classified by size of school and work experience. A sample used in study consisted of school administrators, teachers, government employees, teaching assistants, and mentors for disabled children totaling 93 people whoe were selected by stratified random sampling. The tool used to collect data was a 5-rating scale questionnaire with discrimination power values of between 0.25 and 0.94 and an entire reliability value of .97. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test including F-test for hypotheses testing, and Scheffe’s method for a pairwise comparison.

                  The findings of study were as follows. The administrators in schools of the Wangyang Patthana Network had transformational leadership as a whole at high level. Considering it by aspect, these aspects were found at high level, namely building inspiration, intellectual stimulation, taking individuality into consideration. One aspect was found at moderate level, namely having an ideal influence. 2) The personnel who worked in different-sized schools had different opinion as a whole on transformational leadership of school administrators at the .01 level of significance. Considering it by aspect, all of the aspects except the aspect of having an ideal influence were found not different. 3) The personnel who had different work experiences had different opinion as a whole on transformational leadership of school administrators at the .01 level of significance. Considering it by aspect, the aspect of having an ideal influence was found significantly different at the .01 level; whereas the aspects of building inspiration, stimulating intellect and taking individuality into consideration were found not different.

     

    Keywords : Transformational Leadership / School Administrators / Schools in the Wangyang Pattthana  Network

    Download Full Paper:
    ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายวังยางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1