Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพ การสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
The Relationship between Academic Leadership of School Administrators and Teaching Effectiveness of Teachers under the Office of Bueng Kan Primary Education Service Area

[เปิดดู 207 ครั้ง]

ศรีประไพร พลเยี่ยม และ สมใจ ภูมิพันธุ์

  • บทคัดย่อ
  •                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิภาพการสอนของครู และ3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 335 คน มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของด้านภาวะผูนําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเทากับ 0.97 และด้านประสิทธิภาพการสอนของครู เทากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

                      ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (= 4.25 S.D. = 0.58) 2) ประสิทธิภาพการสอนของครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (= 4.30 S.D. = 0.48) และ       3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการสอนของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูง (r= .77)

     

    คำสำคัญ : ภาวะผู้นำทางวิชาการ / ประสิทธิภาพการสอน / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

     

     

  • Abstract
  •                The purposes of this study were: 1) to investigate academic leadership of school administrators, 2) to examine teaching effectiveness of teachers, and 3) to look into the relationship between academic leadership of school administrators and teaching effectiveness of teachers under the Office of Bueng Kan Primary Education Service Area. The sample was 335 teachers in the Bueng Kan Primary Education Service Area who were selected by stratified random sampling based on the school size background. The instrument used was a 5-rating scale questionnaire whose reliability coefficient of academic leadership of school administrators was 0.97 and teaching effectiveness of teachers was 0.93. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient.

                    Results were discovered as follows. 1) Academic leadership of school administrators as a whole and each aspect was at high level (= 4.25 S.D. = 0.58); 2) teaching effectiveness of teachers as a whole and each aspect was at high level (= 4.30 S.D. = 0.48); and 3) academic leadership of school administrators had a high positive correlation with teaching effectiveness of teachers at the .01 statistical level of significance (r =. 77).

    Keywords: Academic Leadership / Teaching Effectiveness / Office of Bueng Kan Primary Education Service   Area

    Download Full Paper:
    ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพ การสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ