Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชากรณีศึกษาตลาดการค้าชายแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์

[เปิดดู 270 ครั้ง]

มณีรัตน์ การรักษ์

  • บทคัดย่อ
  •                                        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้เดินทางไปยังตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ตลาดการค้าชายแดน ช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาศักยภาพและแนวทางในการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ตลาดการค้าชายแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมายังตลาดการค้า ชายแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางของ Krejcie and Morgan และวิเคราะห์ผลการศึกษาเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เหตุผลหลักที่เดินทางมายังตลาดการค้าชายแดนช่องจอมคือ สินค้าราคาถูก และทำเลที่ตั้งไม่ห่างไกล มากนักจากจังหวัดใกล้เคียง 2) ตลาดการค้าชายแดนช่องจอมมีจุดแข็ง คือการมีทำเลที่ตั้งติดกับประเทศกัมพูชาซึ่งทำให้มีประชาชนชาวไทย เดินทางมายังตลาดจุดอ่อน คือ จำนวนขอทานในตลาดมีมากเป็นเหตุให้อาจเป็นผลถึงความปลอดภัยในทรัพย์สิน โอกาส คือ ตลาดการค้า ชายแดนช่องจอมอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศกัมพูชาทำให้การติดต่อค้าขายระหว่างประเทศสะดวกมากขึ้น รัฐบาลมีนโยบายที่สนับสนุน ให้มีการค้าขายกับต่างชาติ การเปิดเสรีการค้าทำให้ได้รับประโยชน์ในด้านภาษี รัฐบาลสนับสนุนการพัฒนาจังหวัด ความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจของกลุ่ม ASEAN และอุปสรรค คือ เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศทำให้ประเทศกัมพูชากีดกันการค้ากับไทย ระบบ การชำระเงินที่ทั้งสองประเทศใช้เงินต่างสกุลกันในการชื้อขายแลกเปลี่ยน ซึ่งมีความไม่แน่นอนทางการเมืองของทั้งสองประเทศซึ่งมี ผลกระทบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ

    คำสำคัญ : การพัฒนาตลาดการค้าชายแดน / การค้าชายไทย-กัมพูชา / ตลาดการค้าชายแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์

    หมายเลข DOI :  10.14456/npuj.2015.19
     

  • Abstract
  •                                        The objectives of this study were: 1) to investigate behavior of those people travelling to ‘Chong Jom’ Thailand-Cambodia border trade market, Surin province, 2) to examine potential and guidelines about the development of ‘Chong Jom’ Thailand-Cambodia border trade market, Surin province. The study was a survey research. A sample whose size was determined based on Krejcie and Morgan’s table was a total of 400 including Thai people and foreigners who travelled to ‘Chong Jom’ border trade market, Surin province. Results of study were found using qualitative analysis. The findings revealed as follows. 1) The main reason for their travelling to “Chong Jom’ border trade market was of low product prices as well as not too far away location of the market from the neighboring provinces. 2) The strengths of ‘”Chong Jom’ trade market were that the location adjoining Cambodia is convenient for Thai people to travel there. The weaknesses of it were that there were many beggars and the people going there felt insecure about their property. The opportunities of it were that the “Chong Jom’ border trade market is located near the Cambodia border. That makes the contact of international trade more convenient. The Thai government has had a policy to support trade with other countries. An opening of free trade would be the government’s advantage to collect tax. The government has supported the development of the province and the economic cooperation of all the countries in the ASEAN Community. The threats of it were that conflicts between Thailand and Cambodia made the trade between them have a hindrance. The different currencies used by both countries in the payment system for trading and the uncertainty of policies of both countries affected their economic system.

    Keywords : Border Trade Market Development / Thai-Cambodia Border Trade / Chong Jom Border Trade, Surin Province

    Download Full Paper:
    การพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชากรณีศึกษาตลาดการค้าชายแดนช่องจอม จังหวัดสุรินทร์