Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ


[เปิดดู 200 ครั้ง]

ณัฐพงศ์ บุณยารมย์ รศ.ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร และ ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์

  • บทคัดย่อ
  • บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ 2) เปรียบเทียบ
    ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ 3) หาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ ระหว่าง
    ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และ 4) หาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของ
    ผู้บริหารโรงเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย รวม 302 คน คือ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 76 คน และครูผู้สอน
    จำนวน 226 คน ของโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3–4 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ภาคเรียนที่ 1
    ปีการศึกษา 2553 เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น
    เท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้
    ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t–test, F-test
    ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ
    เป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารโรงเรียน มีภาวะผู้นำ อยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหาร
    โรงเรียนส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับมาก 3) ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อ
    ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 4) ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนของโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อ
    ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 5) ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานต่างกัน มีความ
    คิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 6) ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผล
    การบริหารงานวิชาการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูผู้สอนมีความคิดเห็นมากกว่าผู้บริหาร
    7) ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการไม่แตกต่างกัน
    8) ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงาน
    วิชาการ ไม่แตกต่างกัน 9) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์กันทางบวก
    10) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการได้

    คำสำคัญ: ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

  • Abstract
  • ABSTRACT

    The purposes of this research were to 1) investigate and 2) to compare the administrator leadership affecting
    the offectiveness of the academic affairs relation ship 3) predicting to study the power between administrators
    leadership of school administrators affecting school academic affairs Providing key 3-4 under the Office of Nakhon
    Phanom educational service area and 4) to develop participatory administration and the effectiveness of schools. The
    sample population were 302 people consisted of 76 school administrators and 226 teachers. The instrument
    employed for collecting data was a check list questionnaire developed by the researcher. Statistics used to analyze
    data included mean (x), standard deviation, F- test, t-test, Pearson’ s Product Moment Correlation and Stepwise
    Multiple Regression Analysis. The research findings were as follows: 1) The school administrators had the leadership
    at the high level. 2) The administrator leadership affecting the effectiveness of the academic were at the high level.
    3) The administration of the schools perceived by the administrators and teachers in the schools were not different in
    general. 4) The administration of the schools perceived by the administrators and teachers in the schools with
    different educational provision were not different in general. 5) The administration of the schools perceived by the
    administrators and teachers with different work experiences were not different in general. 6) The effectiveness of the
    schools in overall was significantly different at the .05 level of significance. 7) The effectiveness of the schools
    perceived by the administrators and teachers with different educational provision were not different in general. 8) The
    effectiveness of the schools perceived by the administrators and teachers in the schools with different work
    experiences were not different in general and in particular. 9) The administration and the effectiveness of the schools
    obtained the positive relationship in general. 10) The administration of the schools could the reveal predicting power
    of the effectiveness of the schools.

    Keywords: The effectiveness of the academic affairs

    Download Full Paper: