Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนครพนม
Efficiency of the Learning Activities Management of Teacher under the Educational Service Areas in Nakhon Phanom Province

[เปิดดู 235 ครั้ง]

มัสยา นามเหลา ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ ศิริดา บุรชาติ

  • บทคัดย่อ
  • บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    ในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และนักเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียนและเพื่อหาแนวทางส่งเสริมและ
    พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนครพนม ประชากรที่ศึกษา
    ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และนักเรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัด
    นครพนม ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร 51 คน ครู 1,296 คน และนักเรียน 32,681 คน รวม 34,028 คน
    กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร 51 คน ครู 125 คน และนักเรียนจำนวน 206 คน รวม 382 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลาย
    ขั้นตอน (Multi–stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัย
    สร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ทั้งสองฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
    ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test ชนิด Independent Samples) และความแปรปรวนแบบทางเดียว
    (F-test ชนิด One way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    ในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และนักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพ
    การจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู โดยรวม
    และรายด้านแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
    การศึกษา ในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน
    แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของ
    ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนมไว้ 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านสื่อ
    การเรียนรู้ และด้านการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริงไว้ด้วย

    คำสำคัญ: ประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้

  • Abstract
  • ABSTRACT

    The purposes of this study were to investigate the efficiency of learning management of the teachers under the
    Offices of Educational Service Areas in Nakhon Phanom Province in the academic year 2009, according to the views
    of school administrators, teachers, and students categorized by school sizes; and to seek appropriate guidelines for
    promoting and developing the efficiency of learning management of the teachers under the Offices of Educational
    Service Areas in Nakhon Phanom Province. The population of this study consisted the 51 school administrators,
    1,296 teachers and 32,681 students included 34,028 under the Offices of Educational Service Areas in Nakhon
    Phanom Province, selected by multi-stage sampling, the subjects of the study consisted of 51 school administrators,
    125 teachers, and 206 students. The instruments used to collect the data were two sets of five-rating scale
    questionnaires constructed by the researcher. Both sets of the questionnaires had the reliabilities of 0.97. The
    statistics used to analyze the data included percentages, means, standard deviations, t-test (Independent Samples),
    and F-test (One-way ANOVA). The results of this research were as follows: The overall and each aspect of the
    efficiency of the learning management of the teachers under the Offices of Educational Service Areas in Nakhon
    Phanom Province, according to the views of school administrators, teachers, and students, were at the high level.
    The overall and each aspect of the efficiency of the learning management of the teachers under the Offices of
    Educational Service Areas in Nakhon Phanom Province, according to the views of school administrators and
    teachers, were not different at .05. The overall and each aspect of the efficiency of the learning management of the
    teachers under the Offices of Educational Service Areas in Nakhon Phanom Province, according to the views of
    school administrators and teachers categorized by the sizes of schools, were not different at .05. The guidelines for
    promoting and developing the learning management of the teachers under the Offices of Educational Service Areas
    in Nakhon Phanom Province were suggested in the study. The suggested guidelines included 3 aspects, namely the
    student-centered learning management aspect, the learning media aspect, and the authentic assessment aspect.

    Keywords: the efficiency, learning activities management

    Download Full Paper:
    ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนครพนม