Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม
Transformational Leadership of School Administrators Affecting Learning Organization of Schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area

[เปิดดู 252 ครั้ง]

ปนัดดา ปัจธรรม ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ ผศ.ดร.วัลนิกา ฉลากบาง

  • บทคัดย่อ
  • บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
    ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 499 คน ครูผู้สอน
    จำนวน 5,542 คน และ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 499 คน รวม 6,540 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมี
    จำนวน 367 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 89 คน และครูผู้สอน จำนวน 189 คน และประธานคณะกรรมการ
    สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 89 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม
    โดยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.34–0.79 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98
    ส่วนด้านการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.37–0.85 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์
    ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งวิเคราะห์หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
    การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
    1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 2) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน อยู่ในระดับ
    มาก 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 4) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน
    ไม่แตกต่างกัน 5) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 6) การเป็น
    องค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7) ภาวะผู้นำ
    การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก 8) ภาวะผู้นำ
    การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสามารถพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
    .01 โดยภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน มี 1 ด้าน คือ ด้านการบริหารแบบวางเฉย

    คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

  • Abstract
  • ABSTRACT

    The purposes of this research were to study the transformational leadership of school administrators under the
    Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area affecting the status quo as knowledge-based organizations of
    their respective schools. The target population of 6,540 consisted of 499 school administrators, 5,542 teachers, and
    499 presidents of school basic education committees. Samples of the study; selected by multi-stage random
    sampling; consisted of 89 school administrators, 189 teachers, and 89 presidents of school basic education
    committees. Instrument used to collect data were a set of questionnaires which included 2 parts–the first part, of
    which discrimination power and reliability were 0.34-0.79 and 0.98 respectively, was about transformational leadership
    of school administrators; whereas the second part with the discrimination power of 0.37-0.85 and the reliability of 0.96
    respectively, was about the status quo as knowledge-based organizations of the schools. Statistics used for data
    analysis were percentage, mean, standard deviation, One-way Analysis of Variance, Pearson’s Product Moment
    Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis. The findings of the study were as follows: 1) The
    transformational leadership of school administrators, as a whole, was at the high level. 2) The status quo as
    knowledge-based organizations of the schools, as a whole, was at the high level. 3) The transformational leadership
    of school administrators were not different. 4) The knowledge-based organizations of the schools were not different.
    5) The transformational leadership of school administrators were not different. 6) The knowledge-based organizations
    of the schools were statistically different at the .05 significant level. 7) Transformational leadership of school
    administrators and the status quo as knowledge-based organizations revealed their statistically positive relationship.
    8) Transformational leadership of school administrators could significantly predict the status quo as knowledge-based
    organizations at the .01 level. They were the equanimity in the transactional leadership, and the individualized
    consideration, intellectual stimulation, and inspiration in the transformational leadership. 9) transformational leaders of
    school administrators that need to be developed are the equanimity, the individualized consideration, intellectual
    stimulation, and inspiration. All guidelines for development were already suggested in the research accordingly

    Keywords: Transformational Leadership

    Download Full Paper:
    ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม