Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ


[เปิดดู 249 ครั้ง]

ดร.กาญจน์ หงษ์มณีรัตน์

  • บทคัดย่อ
  • บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ กฎ ระเบียบ วิธีปฏิบัติและภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการพัฒนา
    สังคม การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) สังเคราะห์องค์ความรู้ และ 3) เปรียบเทียบผลการอนุรักษ์ ฟื้นฟู
    ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งสอง วิธีการศึกษา ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ในกรอบการ
    วิจัย โดยใช้เครื่องมือแบบสำรวจภาคสนาม มีการสอบถาม สัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและการสังเกต เพื่อนำมาสังเคราะห์กับข้อมูล
    เอกสารเกี่ยวกับพื้นที่ชุมชนที่ศึกษา กลุ่มเป้าหมายใช้ชุมชนละ 30 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน
    เฒ่าจ้ำ พระสงฆ์ ตัวแทนชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนปากแม่น้ำทั้งสองมีชาติพรรณ อพยพ
    มาจากลาวเทิง มากกว่า 200 ปี ดำเนินวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อโดยเฉพาะฮีดสิบสองคองสิบสี่เช่นเดียวกัน
    ซึ่งมีประเด็นที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนี้ ชุมชนปากแม่น้ำสงคราม (ไชยบุรี) อดีตมีความอุดมและความหลากหลายทาง
    ชีวภาพ ต่อมาชุมชนได้มีการขยายตัวและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้เหมาะกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น
    การเลี้ยงปลาในกระชังเพื่อการค้า ที่มีจำนวนมากเกินกว่าที่แหล่งน้ำธรรมชาติจะรับได้พร้อมทั้งมีการใช้สารเคมี ปุ๋ยและยากำจัด
    ศัตรูพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต ก่อให้เกิดมลภาวะระยะยาว ทั้งทางดิน ทางน้ำและอากาศ ส่วนชุมชนปากแม่น้ำซัน เป็นชุมชน
    ปากแม่น้ำที่มีลักษณะสภาพภูมิลักษณ์โดยทั่วไป เช่นเดียวกับชุมชนปากแม่น้ำสงคราม มีการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดย
    พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ปัจจุบันชุมชนดังกล่าวได้มีการปรับตัวเองเพื่อรองรับการค้าอาเชียน ซึ่งพฤติกรรมและความ
    เคยชินต่างๆ ในอดีตก็เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมลภาวะทั้งทางดิน ทางน้ำและทางอากาศเช่นเดียวกัน เช่น การซักล้างเสื้อผ้า
    ถ้วยชาม ล้างรถยนต์ และปล่อยน้ำเสียจากชุมชนลงสู่แม่น้ำ หากไม่มีการฟื้นฟูที่ดีพอก็จะก่อให้เกิดสภาวะมลพิษเช่นเดียวกับ
    ชุมชนปากแม่น้ำสงคราม ดังนั้นชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีมาตรการกำกับดูแลควบคุม และการฟื้นฟูอนุรักษ์
    ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อความคงอยู่ต่อไป

    คำสำคัญ: คน และทรัพยากรธรรมชาติ

  • Abstract
  • Abstract
     

    Objectives : 1) To study the social wisdom, roles and regulations, social development natural resources and
    environmental conservation of Songkhram River community in NaKhon Phanom Province and Xan River community
    in Bolikhamxay Province Lao PDR. 2) To synthesize the social wisdom, roles and regulations, social development
    natural resources and environmental conservation of Songkhram River community in NaKhon Phanom Province and
    Xan River community in Bolikhamxay Province and 3) To compare the results of performances in the communities. It
    was found that both of communities migrated from Lao–thong approximately more than 200 years. The tribes
    austerely performed the belief, culture and tradition following local tradition and seniority. The Songkhram River
    (Xyburi) basin has various species of Biodiversity. Communities have developde and changed their life styles for
    natural resource environment and limited ecology system. For example, commercial fish raising with more than 1,000
    fish cages which made water pollution, soil pollution because of the sediment of fodder. The Xan River estuary
    community has the same conditions as the the Songkhram River and made a living from agriculture which depends
    on natural resource. The community has adapt and prepared for the arrival of the ASEAN Economic Community
    (AEC). However, Xan River communities should change some behaviors in daily life. They should not take a bath,
    launder, wash toxic container and wash car near the river bank which may contribute to water pollution.

    Keyword: Human and Natural resources

     

    Download Full Paper: