Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI
-

[เปิดดู 225 ครั้ง]

สุรศักดิ์ ภะวะ ดร.มนตรี อนันตรักษ์ และ ดร.สุเทพ ทองประดิษฐ์

  • บทคัดย่อ
  •  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์
    และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบ TAI ที่มีประสิทธิภาพ
    ตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนที่เรียน
    โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบ TAI 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยจัดกิจกรรม
    การเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบ TAI 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้
    แบบ 4 MAT และแบบ TAI และ 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยจัด
    กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบ TAI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอุเทนพัฒนา
    จำนวน 2 ห้องเรียนๆ ละ 48 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงในการ เลือกห้องเรียน และ สุ่มวิธีการให้กับกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ
    ที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบ TAI รูปแบบละ 14 แผน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์
    ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.24-0.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.79 3) แบบวัดความสามารถ
    ในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.40-0.69 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28-0.64 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ
    0.83 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก
    ตั้งแต่ 0.35-0.64 ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัด
    กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
    4 MAT และแบบ TAI มีค่าเท่ากับ 84.99/76.15 และ 82.70/81.20 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2) ดัชนีประสิทธิผลของ
    แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้
    แบบ 4 MAT และแบบ TAI มีค่าเท่ากับ 0.6444 และ 0.7112 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 64.44
    และ 71.12 ตามลำดับ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรม
    การเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีความสามารถใน
    การคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) นักเรียนที่เรียนด้วย
    กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างจากนักเรียนที่เรียนด้วย
    กิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI
     
    คำสำคัญ : ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน / กิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT / กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI

  • Abstract
  •  The purposes of this study were to : 1) Develop mathematics lesson plans on the topic of ‘Relation and
    Function’ for Matthayomsuksa 4 (grade 10) students using 4 MAT and TAI learning activities with a required
    efficiency of 75/75, 2) Study effectiveness indices of the lesson plans using 4 MAT and TAI learning activities,
    3) Compare learning achievement between the students who learned 4 MAT and TAI learning activities,
    4) Compare analytical thinking ability between the students who learned 4 MAT and TAI learning activities, and
    5) Investigate the students’ satisfaction towards the two learning activities. The sample group used in the study
    consisted of 96 Matthayomsuksa 4 students studying at Uthen Phatthana School; they were from 2 classrooms
    (48 students each). They were selected by using the purposive sampling technique and were randomly assigned
    into two experiment groups: using 4 MAT and using TAI learning activities. Four types of the research instruments
    were used in the study: 1) 14 lesson plans using 4 MAT and 14 lesson plans using TAI learning activities, 2) The
    40-item learning achievement test with discrimination power ranging between 0.24-0.82 and reliability of 0.79,
    3) The 30–items analytical thinking ability test with difficulty ranging between 0.40-0.69, discrimination power
    ranging between 0.28-0.64, and reliability of 0.83 and 4) The 20–item 5-point rating scale questionnaire with
    discrimination power ranging between 0.35-0.64 and reliability of 0.87. The statistics used for analyzing the
    collected data were percentage, mean, standard deviation and F-test (ANCOVA). The results of this research were
    as follows: 1) The efficiencies of the lesson plans for organizing learning activities in mathematics learning strand
    entitled ‘Relation and Function’ for Matthayomsuksa 4 students by using 4 MAT and TAI learning activities were
    84.99/76.15 and 82.70/81.20 respectively; which were higher than the required efficiency criterion of 75/75,
    2) The effectiveness indices of the lesson plans using 4 MAT and TAI learning activities were 0.6444 and 0.7112,
    showing that the students progressed their learning at 64.44 percentage and 71.12 percentage respectively,
    3) The students who learned by using TAI learning activities showed higher learning achievement than those who
    learned by using 4 MAT learning activities at the significance level of .01, 4) The students who learned by using
    4 MAT learning activities showed higher analytical thinking ability than those who learned by using TAI learning
    activities at the significance level of .01, and 5) The students who learned by using 4 MAT learning activities
    satisfied insignificantly from the students who learned by using TAI learning activities.
     
    Keywords : Relation and Function / 4 MAT Learning Activitie / TAI Learning Activities

    Download Full Paper:
    การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TAI