Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT)
Comparison of Learning Achievement on Thai Words that Mismatch Final Consonants of Prathomsuksa Students, between Using STAD Cooperative Learning Group and 4 MAT Learning Cycle

[เปิดดู 189 ครั้ง]

ประพันธ์ บุญพิมพ์, ผศ.ดร.ทัศนา ประสานตรี และ ดร.สุเทพ ทองประดิษฐ์

  • บทคัดย่อ
  •  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ

    STAD กับการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับ
    การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ในสังกัด
    กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายขยายโอกาสท่าอุเทน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ทั้งหมด 7 โรง จำนวน 9 ห้อง
    รวมสิ้น 192 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนชุมชน
    บ้านคำพอกท่าดอกแก้ว อำเภอท่าอุเทน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 41 คน จาก 2 ห้อง
    เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 20 คน จัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และกลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 21 คน จัดการเรียนรู้แบบ
    วัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากเพื่อเลือกห้องสำหรับการทดลอง เครื่องมือ
    ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.34 ถึง
    0.77 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.81 และค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.83 และแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้ที่มีต่อ
    การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน
    10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.62 และ 0.34 – 0.61 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ 0.79 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการ
    วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Independent Samples)
    ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ( = 26.65 ค่า S.D. = 1.84) มีผลสัมฤทธิ์
    ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้แบบ วัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) ( = 25.24 ค่า S.D. = 1.18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) ต่างมีความพึงพอใจ
    ต่อวิธีการสอนที่ได้รับอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.78 และ 2.69 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 และ 0.47
     
    คำสำคัญ : การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD / การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) / ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

  • Abstract
  •  The purposes of the research were to 1) Compare the students’ learning achievement between using STAD

    Cooperative Learning and 4 MAT learning cycle, and 2) Study the students’ satisfaction towardslearning by using
    STAD Cooperative Learning and 4 MAT learning cycle. 192 Prathom suksa 3 students studying in the 1st semester
    in an academic year 2011 at 7 schools in Tha-Uthen network under the Office of Nakhon Phanom Primary
    Educational Service area 2, were population of the study. The sample consisted of 41 Prathom Suksa 3 students
    studying at Chumchon Bankumpokthadokgaew School, Tha-Uthen District, Nakhon Phanom Province, selected by
    the purposive sampling technique. 20 students were taught the STAD Cooperative Learning and the other 21
    students were taught the 4 MAT learning cycle. The research instrument were: 1) 30-item learning achievement
    test with the difficulty ranging between 0.34-0.77, the discrimination value at 0.37-0.81, and the reliability of 0.83,
    and 2) 10-item 3-point rating scale satisfaction questionnaires towards STAD Cooperative learning and 4 MAT
    learning cycle with the item discrimination value at 0.36-0.62 and 0.36-0.61, and the reliability (α – coefficient) of
    0.84 and 0.79 respectively. The statistics used in analyzing data were mean, standard deviation and t-test
    (Independent Samples). The results were as follows: 1) The students who studied the STAD Cooperative Learning
    ( = 26.65, SD = 1.84) had higher learning achievement than those who studied the 4 MAT learning cycle ( =
    25.24, SD = 1.18) at a significant level of .01, and 2) The students’ satisfaction towards the STAD Cooperative
    Learning and the 4 MAT learning cycle was at a high level with averages of 2.78 and 2.69, and Standard Deviation
    of 0.49 and 0.47 respectively.
     
    Keywords : STAD Cooperative Learning / 4 MAT Learning Cycle / Achievement

    Download Full Paper:
    การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT)