Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายในกับประสิทธิภาพการสอน ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครพนมเขต 2
The Relationship between Supervision Procedure within the School and Instruction Efficiency of Teacher under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 2

[เปิดดู 176 ครั้ง]

เรืองกิตติ์ วะชุม, รศ.ดร. จำนง วงษ์ชาชม และ ดร. วนิดา หงษ์มณีรัตน์

  • บทคัดย่อ
  •  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ ระหว่างการดำเนินงาน ตามกระบวนการนิเทศ

    ภายในกับประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้ให้
    ผู้รับการนิเทศและเพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายในและประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนสังกัด
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 330 คน จำแนกเป็นผู้ให้การนิเทศ 100 คน ผู้รับการนิเทศ 230 คน
    โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายใน มีค่าอำนาจจำแนก
    อยู่ระหว่าง 0.39-0.98 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามประสิทธิภาพการสอนของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง
    0.35-0.81 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ
    ที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินตาม
    กระบวนการนิเทศภายในโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการสอนของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) การดำเนินงานตาม
    กระบวนการนิเทศภายใน ตามความคิดเห็นของผู้ให้และผู้รับการนิเทศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    ทุกด้าน โดยผู้ให้การนิเทศมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายในสูงกว่าผู้รับการนิเทศ 4) ประสิทธิภาพการสอน
    ของครูตามความคิดเห็นของการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้รับการนิเทศ
    มีความคิดเห็นของครูสูงกว่าผู้ให้การนิเทศ 5) ผู้ให้การนิเทศและผู้รับการนิเทศที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อ
    การดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายใน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 6) ผู้ให้การนิเทศและผู้รับ
    การนิเทศที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการสอนของครูโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มี
    นัยสำคัญทางสถิติ 7) การดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายในกับประสิทธิภาพการสอนของครู โดยภาพรวมสัมพันธ์กันในทางบวก
    อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 8) การดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายในที่ควรพัฒนาคือขั้นตอนเตรียมการนิเทศและ
    การปรับปรุงแก้ไขวิธีการนิเทศและควรพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครู ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้าน
    การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน และด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้
     
    คำสำคัญ : กระบวนการนิเทศภายใน / ประสิทธิภาพการสอนของครู

  • Abstract
  •  The purposes of this research were to investigate relationships between supervisors’ and supervised

    teachers’ opinions, and to find an improvement guidelines for school teachers’ teaching efficiency based on the
    internal supervision. Those teachers were teaching at schools under the Office of Nakhon phanom Educational
    Area 2. The subjects of the study were 330 people classified into 100 school supervisors and 230 teachers who
    were supervised, collected by means of multi-stage random sampling. There were two research instruments:
    The operating question based on the internal supervision procedures, with the discrimination value between
    0.39 – 0.98 and the reliability of 0.96, and the teachers’ teaching efficiency questionnaire with the discrimination
    value between 0.35 – 0.81 and the reliability of 0.95. The statistics used to analyze the data were percentage,
    standard deviation, t-test (Independent Samples), one-way ANOVA, Pearson’s Product-Moment Correlation.
    The results of the study revealed that 1) The overall operations based on the internal supervision procedures was
    at a high level, 2) The overall teachers’ teaching efficiency was at a high level, 3) The supervisors’ and supervised
    teachers’ opinions of overall operations based on the internal supervision procedures, were significantly different
    in all aspects at a level of .01, 4) The overall and individual aspects of teachers’ teaching efficiency were
    significantly different in all aspects at a level of .05, while the supervised teachers’ opinions on the topic were
    higher than those of the supervisors’, 5) The supervised teachers and the supervisors working in different sizes of
    school had insignificantly different opinions of overall and individual aspects of the operations based on the
    internal supervision procedures, 6) The supervised teachers and the supervisors working in different sizes of
    school had insignificantly different opinions of overall and individual aspects of teachers’ teaching efficiency,
    7) The operations based on the internal supervision procedures and the teachers’ teaching efficiency had an
    overall positive relations at a significant level of .05, and 8) The operations based on the internal supervision
    procedures that should be improved were supervision preparation and supervision development, while the
    teachers’ teaching efficiency that should be improved were curriculum management, learning management,
    analysis synthesis and research for learner improvement, and relationship and cooperation creation with
    community for leaning management.
     
    Keywords : Internal Supervision Procedure / Instruction Efficiency of Teacher

    Download Full Paper:
    ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายในกับประสิทธิภาพการสอน ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครพนมเขต 2