Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจ ต่อวิชาศิลปะพื้นฐาน ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบซิปปากับแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Comparisons of Learning Achievement, Creative Thinking, and Satisfaction in the Fundamental Arts of Mattayomsuksa 1 Students Using CIPPA Learning Activities Versus Conventional Learning Activities

[เปิดดู 161 ครั้ง]

สุชีลา เพชรแก้ว, รศ. ศิริศักดิ์ จันฤาไชย และ รศ.วิโรจน์ มุทุกันต์

  • บทคัดย่อ
  •  การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาศิลปะพื้นฐาน ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

    แบบซิปปากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรม
    การเรียนรู้แบบซิปปากับการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ ต่อวิชาศิลปะระหว่างก่อน
    เรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ต่อวิชาศิลปะระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
    ซิปปากับแบบปกติ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียน
    โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน
    ซึ่งเรียนแบบซิปปา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 จำนวน 30 คน ที่เรียนแบบปกติได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้
    ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 2 แบบ อย่างละ 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดปรนัย
    เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก รายข้อตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.80 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 3) แบบวัด
    ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.24
    ถึง 0.70 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ 4) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์จำนวน 4 ข้อซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.82
    และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ
    สมมติฐานด้วย t-test และ Hotelling-T2 ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา และแบบปกติ เรื่อง
    การสร้างผลงานศิลปะ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 90.53/88.78 และ 85.25/83.00
    ตามลำดับเป็นไปตามที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ผลการหาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA กับ มีค่า
    เท่ากับ 0.7179 และแบบปกติ มีค่าเท่ากับ 0.5714 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA และแบบปกติ
    มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนชั้น
    มัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความคิดสร้างสรรค์ สูงกว่านักเรียนที่
    ได้รับแบบปกติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความคิดสร้างสรรค์ด้านการคิดคล่องแคล่วและการคิดริเริ่มไม่แตกต่างกัน 5) นักเรียนชั้น
    มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายข้อมีความ
    พึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด
     
    คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจ การเรียนรู้แบบซิปปากับแบบปกติ

  • Abstract
  •  This purposes of this study were 1) to develop the effective learning activities plans in the Fundamental

    Arts using CIPPA learning activities and conventional learning activities with required of efficiency level of 80/80,
    2) to find out the efficiency index of the CIPPA learning activities plans and the conventional learning activities
    plans, 3) to compare the learning achievement and creative thinking before and after learning the Fundamental
    Arts, 4) comparing learning achievement and creative thinking in the Fundamental Arts through CIPPA learning
    activities and through conventional learning activities, and 5) to study students’ satisfaction on CIPPA learning
    activities. The samples use in this study consisted of 60 Mattayomsuksa 1 students attending in the second
    semester of academic year 2010 at Kusumarn Wittayakom School, Secondary Educational Region 23. Obtained
    using the random sampling technique. They were assigned into 2 groups : experimental group 30 students from
    the class 1/1 group 1 using CIPPA learning activities and other 30 students from the class 1/4 were assigned to
    experimental group 2 which studied by using conventional learning activities. The instruments used in this study
    were 1) 8 lesson plans for each of the 2 learning activities, 2) a 4-choice achievement test consisted of 30 items
    with the discrimination power ranging from 0.30 to 0.80 and the reliability index of 0.84, 3) a 5 rating scale
    questionnaire on satisfaction in learning activities consisted of 20 items with the discrimination power ranging
    from 0.24 to 0.70 and the reliability index of 0.87, and 4) a questionnaire on creative thinking that had the
    discrimination power ranging from 0.47 to 0.82 and the reliability index of 0.85. The statistics used for analyzed
    data were percentage, means, standard deviation, t-test, and Hotelling-T2. The results of the study were as
    follows: 1) Learning activities plans on Creating Art Works for mattayomsuksa 1 students using CIPPA learning
    activities and conventional learning activities had the efficiency level of 90.53/88.78 and 85.25/83.00 respectively
    which were higher than the standard criteria of 80/80. 2) The CIPPA learning activities plans had the efficiency
    index of 0.7179 and the conventional learning activities plans had the efficiency index of 0.5714. 3) After studying
    the Fundamental Arts, both mattayomsuksa 1 students who learned CIPPA learning activities and the ones who
    learned conventional learning activities had significantly higher scores on learning achievement and creative
    thinking. 4) Mattayomsuksa 1 students who learned CIPPA learning activities had significantly higher scores on
    learning achievement and creative thinking than the mattayomsuksa 1 students who learned conventional
    learning activities. But the students who learned using two methods did not show different ideational fluency and
    originality. 5) Mattayomsuksa 1 students who learned CIPPA learning activities ranked their satisfaction scores at
    the highest level while each item received the satisfaction levels ranged from high to highest.
     
    Keywords: Learning Achievement, Creative Thinking and Satisfaction, CIPPA Learning and Conventional Learning
    Activities

    Download Full Paper:
    การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจ ต่อวิชาศิลปะพื้นฐาน ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบซิปปากับแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1