Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเปรียบเทียบพฤติกรรมกล้าแสดงออกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ เรื่อง ชาติไทยของเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
Comparison of Assertive Behavior and History Learning Achievement on the Issue of Our Country (Thailand) of Prathomsuksa 3 Students between Using 4 MAT and Conventional Learning Approaches

[เปิดดู 163 ครั้ง]

วิราวรรณ บุญชวลิต, ดร.สุเทพ ทองประดิษฐ์ และ ดร.มนตรี อนันตรักษ์

  • บทคัดย่อ
  •  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการเรียนรู้ เรื่อง ชาติไทยของเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้

    แบบ 4 MAT และแบบปกติ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และ
    แบบปกติ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมกล้าแสดงออกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT
    กับแบบปกติ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบปกติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
    ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครือข่ายบ้านผึ้งโพธิ์ตาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน
    3 โรงเรียน รวมทั้งหมด 130 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง คือเลือกโรงเรียนชุมชนนามนวิทยาคาร
    ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ผู้วิจัยทำการสอน แล้วสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากเพื่อเลือกห้องสำหรับใช้ทดลอง ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1
    จำนวน 20 คน สำหรับทดลองจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 20 คน สำหรับทดลอง
    จัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 5 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการเรียนรู้ เรื่อง ชาติไทยของเรา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้
    แบบ 4 MAT จำนวน 6 แผน 2) แผนการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ
    ค่าความยากตั้งแต่ 0.24 – 0.76 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 – 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 4) แบบวัดพฤติกรรม
    กล้าแสดงออก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25 – 0.62 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 5) แบบวัดความ
    พึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    การทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสถิติทดสอบเอฟ สำหรับการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการ
    จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เรื่อง ชาติไทยของเรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.25/83.83 ซึ่งสูงกว่า
    เกณฑ์ที่ตั้งไว้ การจัดการเรียนรู้แบบปกติมีประสิทธิภาพเท่ากับ 73.25/70.17 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการ
    จัดการเรียนรู้ ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7587 และ 0.5558
    ตามลำดับ 3) นักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกสูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ
    ทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4) นักเรียนที่เรียนรู้แบบ 4 MAT และนักเรียนที่เรียนรู้แบบปกติ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากและปานกลางตามลำดับ
     
    คำสำคัญ: พฤติกรรมกล้าแสดงออก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT การจัดการเรียนรู้แบบปกติ

  • Abstract
  •  The purposes of this research were to: 1) Develop the lesson plan on the topic of Our Country (Thailand)

    for Prathomsuksa 3 students using 4 MAT and conventional learning approaches with a required efficiency of
    80/80, 2) Study effectiveness indices of the lesson plans using 4 MAT and conventional approaches, 3) Compare
    assertive behavior and learning achievement of students using 4 MAT and conventional approaches, and
    4) Investigate the students’ satisfaction towards 4 MAT and conventional learning approaches. The population
    used in this research included 130 Prathomsuksa 3 students in the first semester of the academic year of 2011
    from 3 schools in the group of Banphungphotak network under the Office of Nakhon Phanom Educational Service
    Area 1. The sample groups were selected by the purposive sampling technique which came from Chumchon
    Namon Wittayakarn School where the researcher is working at. 20 Prathomsuksa 3 students class 1, selected by
    the simple random sampling technique, used the 4 MAT learning approach and other 20 Prathomsuksa 3 students
    class 2 used the conventional learning approach. Five types of research instruments were used in this study:
    1) 6 lesson plans using 4 MAT learning approach for students, 2) 6 lesson plans using the conventional learning
    approach for students, 3) 30-item and 3-choice achievement test for students with difficulty (p) ranging between
    0.24-0.76, the item discrimination(B) of 0.27-0.80 and the reliability (RCC) at 0.88, 4) 20-item and 3-point rating
    scale assertive behavior test for students with the item discrimination ranging between 0.25-0.62 and the
    reliability of 0.86, and 5) 15-item and 3-point rating scale questionnaire on satisfaction for students, and the
    reliability at 0.84. The statistics used for analyzing the collected data were mean, percentage, standard deviation,
    and F-test for analysis of covariance. The results of this research revealed that: 1) The 4 MAT lesson plan

    efficiency for students was at 85.25/83.83 which was higher than the required efficiency criterion of 80/80 and the
    conventional lesson plan efficiency was at 73.25/70.17 which was lower than the required efficiency criterion,
    2) The 4 MAT lesson plan effectiveness index students was at 0.7587 and the conventional lesson plan
    effectiveness index was at 0.5558, 3) The students who studied the topic ‘Our Country’ by using the 4 MAT
    learning approach had assertive behavior more than those students who studied the conventional learning
    approach at the significance level of .05 and the students who studied by using the 4 MAT learning approach
    showed learning achievement higher than the students who studied the conventional learning approach at the
    significance level of .01, and 4) The overall satisfaction of the students who studied the topic ‘Our Country’ by
    using the 4 MAT learning approach and the conventional learning approach, was high and medium respectively.
     
    Keywords: Assertive Behavior, Achievement, 4 MAT Learning Approach, Conventional Learning Approach
    Download Full Paper:
    การเปรียบเทียบพฤติกรรมกล้าแสดงออกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ เรื่อง ชาติไทยของเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ